การศึกษาภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านในภาคตะวันออก
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา สำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านในภาคตะวันออกได้แก่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านในภาคตะวันออก โดยนำหลักการจัดการความรู้ การจัดการมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านและการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้าน ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลภูมิปัญญาการต่อเรือเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลวิจัยพบว่า ผู้ทรงภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านใน 3 จังหวัดมีกระบวนการการต่อเรือที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ มีกระบวนการ ขั้นตอนการต่อเรือที่คล้ายกันและมีรายละเอียดบางขั้นตอนแตกต่างกันไปบ้าง เนื่องจากความเจริญด้านเทคโนโลยีและคุณภาพของวัสดุในแต่ละท้องถิ่น ปัจจัยการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านในภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของเจ้าของอู่ต่อเรือ ฝีมือเชิงช่าง ความนิยมของผู้มาว่าจ้างต่อเรือและผู้ประกอบอาชีพประมง ระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์น้ำในทะเล ปัจจัยที่ทำให้ภูมิปัญญาการต่อเรือประมงพื้นบ้านเกิดการเปลี่ยนแปลงมีจำนวนลดลง คือ วัสดุและไม้สำหรับต่อเรือขาดแคลนและมีราคาสูง ขาดผู้สืบทอดช่างฝีมือที่มีความชำนาญในการต่อเรือมีน้อยลง การเข้มงวดของกฎหมายของการทำประมงชายฝั่ง คนรุ่นใหม่ไม่นิยมประกอบอาชีพต่อเรือ เนื่องจากค่าแรงน้อยได้เงินช้า ขาดการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างยั่งยืน ตามลำดับ คำสำคัญ : ภูมิปัญญา การต่อเรือประมงพื้นบ้าน ปัจจัยการดำรงอยู่ Abstract The study aims to explore, collect and analyse the local wisdom reflected in the fishing boat buildings in Chonburi, Rayong and Chantaburi provinces. The study also focuses on the analysis of factors affecting the changes and existence of local wisdom in fishing boat artisan in these Eastern provinces of Thailand. The researcher studied the principles of knowledge management, local wisdom management, and education for sustainable development. The data were gathered by interviewing the artisans who have expertise in local fishing boat building. In-depth interviews were conducted together with observations. The data on local wisdom in fishing boat artisan were analyzed by descriptive analysis. The studies find that the artisans who are expertise in local fishing boat building in the three provinces have inherited the process of boat building from their ancestors. The building processes in the three provinces are similar with little differences in details in some steps that are varied from place to place and are subject to the technology and the quality of materials in the area. The factors that affect the existence of local boat building artisan on the East Coast provinces depend on the ideal of the dock owners, the artisanship, the customers’ needs and the fishermen and the ecosystem that affects the number of marine animals. The factors that result in the decrease of local wisdom in fishing boat artisan are the lack of materials and woods for boat building, the high cost of materials, the successors and artisans who have expertise in boat building, and the restriction of law on coastal fishing. Moreover, the new generation has very little interest in maintaining the fishing boat artisan because they could earn very little, get late pay and lack of sustainable development on knowledge management respectively. Key words: wisdom, local fishing boat artisan, factors for existenceDownloads
Published
2019-06-25
Issue
Section
บทความวิจัย