การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาไทย
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ระบุความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาไทย และ (2) เปรียบเทียบผลการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาไทยเมื่อใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี 211 คนจากสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามรูปแบบการตอบสนองคู่ที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับตั้งแต่มากที่สุดถึงน้อยที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์ความเที่ยงของมาตรวัดทั้งฉบับด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .912 ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการกลุ่มตัวอย่างโดยรวม เมื่อคำนวณด้วยวิธี Mean Difference Method (MDF) วิธี Priority Needs Index (PNI) และวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified) มีค่าเท่ากับ 0.80, 3.52 และ 0.22 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถแห่งตนทางวิชาการ การมองโลกในแง่ดีทางวิชาการ ความหวังทางวิชาการ และการฟื้นพลังทางวิชาการ เมื่อคำนวณด้วยวิธี Mean Difference Method (MDF) มีค่าเท่ากับ 0.88, 0.68, 0.74 และ 0.89 ตามลำดับ เมื่อคำนวณด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) มีค่าเท่ากับ 3.84, 2.96, 3.29 และ 3.99 ตามลำดับ และเมื่อคำนวณด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified) มีค่าเท่ากับ 0.25, 0.18, 0.20 และ 0.25 ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบผลการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการกลุ่มตัวอย่างเมื่อใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญที่ต่างกัน พบว่า การรับรู้ความสามารถแห่งตนทางวิชาการ และการฟื้นพลังทางวิชาการเป็นองค์ประกอบของทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการที่เป็นความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญสูงสุด 2 ลำดับแรกไม่ว่าจะเป็นการจัดลำดับความสำคัญด้วยวิธีใดก็ตาม คำสำคัญ: ทุนจิตวิทยาเชิงบวกทางวิชาการ การประเมินความต้องการจำเป็น การระบุความต้องการจำเป็น Abstract The objectives of this research were to (1) identify needs of academic positive psychological capital of Thai university students and (2) compare the priority for needs of academic positive psychological capital of Thai university students using different techniques of priority setting. The sample was 211 university students from 5 universities in Bangkok. The research instrument was questionnaire in a dual-response format with a five-level rating scale, rank from highest to lowest. The internal consistency reliability of the instrument, assessed by Cronbach’s alpha, was .912. The results showed that overall, needs of academic positive psychological capital when calculated with Mean Difference Method (MDF), Priority Needs Index (PNI), and Modified Priority Needs Index equated to 0.80, 3.52, and 0.22 respectively. When considering each components, it was found that needs of academic self-efficacy, academic optimism, academic hope, and academic resilience had MDF score of 0.88, 0.68, 0.74 and 0.89 respectively. And when PIN method was used the scores were 3.84, 2.96, 3.29 and 3.99 respective to the previous point. Last but not least, the PIN modified scores for the components were 0.25, 0.18, 0.20 and 0.25 respectively. Further, it was suggested that for all priority setting techniques, including MDF, PNI, and PNI modified, needs of academic self-efficacy and academic resilience were the first two priority of components. Keywords: Academic Positive Psychological Capital, Needs Assessment, Needs Identification.Downloads
Published
2019-06-18
Issue
Section
บทความวิจัย