โครงการสืบค้นและจัดเก็บข้อมูลสัตตภัณฑ์ล้านนา

Authors

  • Prateep Puchthonglang

Abstract

This paper studies beliefs, faiths, designs, forms and conditions of crisisconcerning Lanna Sattapan, a kind of decorative sacrificial candlestick ofnorthern Thailand. The research areas cover provinces of Chiang Mai,Chiang Rai, Phayao, Lampang, Lamphun, Phrae and Nan. The objects ofstudy are amount to 128 pieces, both old and new. The methods of studyare primarily the field data collecting, interview of monks and knowledgeablepeople in communities, analyzing, synthesizing and describing the primarydata. The results show that Sattapans, which are tributed by being located infront of the Buddha in every Lanna temples of northern Thailand, representtwo main sets of common ideas and beliefs : 1) cosmological ideasreflected in latent symbols of relationship between the universe and theworld and 2) pedagogic ideas of Buddhism intended to be a guideline ofliving for Lanna Buddhists. Their iconographic styles can be grouped intodifferent varieties : 1) Naga 2) Hera 3) Garuda 4) Rahu 5) Ogre 6) Angel 7)Creature 8) Flora 9) Zodiac sign 10). Elephant and Horse 11) Cloud.Concerning their shapes, five categories of Sattapan are found: 1) Triangle2) Pentagon 3) Pillar 4) Semicircle and 5) Steps. The conditions of crisis forSattapan Lanna are 1) a significant number of Sattapans has been replacedby the other style of altars gaining their popularity from the influence ofcentral Thailand culture 2) art collectors are searching for beauty Sattapansmore and more 3) Sattapans in many temples lack proper maintenance,causing their decay and damage. 4) nowadays lack of traditional craftsmenmakes knowledges of Sattapan gradually deminished.Keywords : Sattapan Lanna,บทคัดย่อบทความวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาคติความเชื่อ ลวดลาย และรูปแบบของสัตตภัณฑ์รวมถึงเงื่อนไขภาวะวิกฤติของสัตตภัณฑ์ล้านนา พื้นที่วิจัย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงรายพะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน จำนวน 128 ชิ้น ทั้งของเก่าและของใหม่โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจ สัมภาษณ์พระภิกษุและผู้รู้ในชุมชนผลการวิจัยพบว่า สัตตภัณฑ์ คือเครื่องสักการะที่มีที่สำหรับปักเทียนอยู่เจ็ดที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าพระประธานในวิหารหรือโบสถ์ของชาวล้านนา เกิดจากคติและความเชื่อ 2 ประการ คือ 1)แนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาสร้างขึ้นโดยแฝงด้วยสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างจักรวาลกับโลก 2) แนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสร้างขึ้นเพื่อให้ชาวพุทธล้านนานำไปเป็นแนวปฏิบัติในชีวิต ลวดลายที่นิยมมี 11 ชนิดคือ 1) นาค 2) เหรา 3) ครุฑ 4) ราหู 5) กุมภัณฑ์และยักษ์ 6) รุกขเทวดาและนางฟ้า 7)สัตว์ หิมพานต์ 8) ลายเครือเถาพรรณพฤกษา 9) สัตว์ประจำราศีปีเกิด 10) ช้างแก้วม้าแก้ว 11) ลายเมฆหรือลายเมฆไหลประเภทของสัตตภัณฑ์ที่ค้นพบในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ 1)รูปแบบสามเหลี่ยม 2) รูปแบบห้าเหลี่ยม 3) รูปแบบเสา 4) รูปแบบวงโค้ง (ครึ่งวงกลม)5) รูปแบบขั้นบันได หรือ บันไดแก้วเงื่อนไขภาวะวิกฤติของสัตตภัณฑ์ล้านนาในปัจจุบันเกิดจากสาเหตุสำคัญ 4 ประการได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ของสัตตภัณฑ์ถูกแทนที่ด้วยโต๊ะหมู่บูชาซึ่งแพร่กระจายมาจากวัฒนธรรมส่วนกลาง 2)ความงามของงานศิลปกรรมที่ปรากฏเป็นสัตตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของนักสะสมของเก่า3) สัตตภัณฑ์ที่ยังมีอยู่ตามวัดต่างๆ ยังขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ ผุพังและชำรุดเสียหาย 4) ช่างฝีมือที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ความประณีตในการสร้างสรรค์มีน้อย และองค์ความรู้ยังไม่มีผู้สืบทอดในวงกว้างคำสำคัญ สัตตภัณฑ์ล้านนา

Downloads

Published

2019-05-02