ภูมิปัญญาของคนไทยจากวรรณกรรมคำสอนภาคกลางยุคการพิมพ์ (พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๙๓)

Authors

  • พัชลินจ์ จีนนุ่น

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของคนไทยจากวรรณกรรมคำสอนภาคกลางยุคการพิมพ์ (พ.ศ. 2459 – 2493) ผลการศึกษาพบว่าผู้แต่งวรรณกรรมคำสอนกลุ่มนี้ต่างแนะนำหลักคำสอน ที่มีประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ ซึ่งจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ หลักคำสอนเรื่องการดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไป หลักคำสอนเรื่องการครองตนของหญิงโสด หลักคำสอนเรื่องการเลือกคู่ครองของชายหนุ่มหญิงสาว หลักคำสอนเรื่องสูตรสำเร็จสำหรับการเกี้ยวผู้หญิงของชายหนุ่ม หลักคำสอนเรื่องการครองเรือนของสามีภรรยา และหลักคำสอนเรื่องการวางตนของแม่ยายต่อลูกเขย โดยผู้แต่งแสดงภูมิปัญญาด้านการใช้กลวิธีการสอนที่ช่วยเน้นย้ำหลักคำสอน  และนับได้เป็นจำนวน 10 กลวิธี ได้แก่ การสอนอย่างตรงไปตรงมาเพื่อเน้นย้ำสิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ การสอนผ่านเรื่องเล่าต่างๆ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินควบคู่กับการได้รับคติคำสอน การสอนโดยท้าพิสูจน์และทดลองผลเพื่อให้เห็นผลเชิงประจักษ์ การสอนโดยอธิบายเหตุผลและยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย การสอนโดยการแจกแจงสาระคำสอนเพื่อให้เห็นข้อมูลอย่างกระจ่างแจ้ง การสอนโดยบอกผลที่จะได้รับเพื่อยั่วยุให้อยากทำดีและรู้สึกกลัวเมื่อทำชั่ว การสอนโดยการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพคำสอนที่เป็นรูปธรรมขึ้น การสอนโดยอ้างบริบท ต่างๆ เพื่อให้น่าเชื่อถือ การสอนโดยการเน้นย้ำหัวข้อคำสอนซ้ำๆ เพื่อไม่ให้หลงประเด็น และการสอนโดยใช้วิธีสนทนาธรรมตามแบบวิธีในพระพุทธศาสนาเพื่อตอบสนองด้านจิตใจ  ภูมิปัญญาของผู้แต่งที่แสดงออกในวรรณกรรมคำสอนกลุ่มนี้เกิดจากการสั่งสมเรียนรู้ทั้งจากหนังสือ ตำรา จารีตประเพณีและระบบกฎเกณฑ์ต่างๆ ในสังคม คำบอกเล่าของคนโบราณและจากประสบการณ์ส่วนตนที่เห็นว่าดีงามเหมาะสมที่จะนำมาแนะนำสั่งสอนผู้อ่านเพื่อให้ดำรงตนอย่างมีความสุข ราบรื่น และมั่นคงได้ ทั้งในระดับส่วนตน ครอบครัว และสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นการปลูกฝังลักษณะของพลเมืองดีของชาติ คำสำคัญ : ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น วรรณกรรมคำสอนภาคกลาง  ยุคการพิมพ์Abstract The objective of this research is to study the Thai wisdom scripted from the central didactic literatures in the age of printing (A.D. 1926 – 1950). It is found that the authors of this group of literatures had introduced beneficial teachings suited for the living of people which can be categorized into 6 groups: the teaching of living lives for general people, the teaching of good behaviors for single women, the teaching of mating for the young, the teaching of courtship for men, the teaching of marriage for husbands and wives, and the teaching of good manners for mother-in-law and son-in-law. By doing this, the authors conveyed their didactic wisdom through 10 teaching strategies which are: direct-teaching technique to repeat the dos and don’ts, story-telling technique to have readers educated and entertained, challenge-and-trial technique to empirically state the result, reasoning-and-exemplifying technique to be more understandable, explication technique of to be more explicit,  alluring  technique to readers by stating the result of good and bad deeds, comparison technique to be more concrete, contextual-referring technique to be more credible, repeating technique to stick within the point, and conversational technique, based on Buddhist practice, to enrich the readers’ mind. The wisdom of the authors, presented through these didactic literatures, was accumulated by learning from books, notes, custom, tradition, social rules, and practices. These old didactics, derived from the ancestors, are seen as good and suitable for all readers to bring happiness, peacefulness, and security. The benefit of reading the didactic literatures is not only for individuals but also for families and social as a whole.  Keywords : wisdom, local wisdom, the central didactic literature, printing age   

Downloads

Published

2018-08-31