การส่งเสริมภาพลักษณ์สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย โดยใช้ชุดสื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระบวนการสื่อสารภาพลักษณ์ The Promoting Image of ASEAN Association-Thailand by using Public Relations Media Package with Communication Image Process
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสมาคม-อาเซียนประเทศไทย เพื่อศึกษา ความต้องการของชุด สื่อประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อศึกษาผลการรับรู้และความพึงพอใจที่มีต่อชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ 2) แบบ สำรวจความต้องการของชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ 3) ชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ ซึ่งประกอบไปด้วย สื่อสิงพิมพ์ และสื่อบนนิวมีเดีย 4) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อที่มีต่อชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ 5) แบบ ประเมินการรับรู้ที่มีต่อชุดสื่อ ประชาสัมพันธ์ฯ 6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาภาพลักษณ์ที่พึง ประสงค์ เป็นบุคคลที่ติดต่องานกับสมาคมอาเซียน- ประเทศไทย จำนวน 10 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาความต้องการ การรับรู้ และความพึงพอใจ บุคคลและสมาชิก ของสมาคมฯที่ติดตามแฟนเพจเฟซบุ๊ค สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย จำนวน 40 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งผลศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ ในระดับมาก ( xˉ = 4.15, S.D = 0.62 ) และผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่า เนื้อหาของชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ( xˉ = 4.68, S.D = 0.24 ) และผลการประเมินคุณภาพผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ พบว่า ชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ อยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด ( xˉ = 4.55, S.D = 0.50 ) และเมื่อวิเคราะห์ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( xˉ = 4.54, S.D = 0.51 ) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( xˉ = 4.56, S.D = 0.51 ) จึงสามารถสรุปได้ว่าการชุดสื่อประชาสัมพันธ์ฯ มีคุณภาพดีมากและสามารถใช้ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของสมาคมอาเซียน-ประเทศไทยได้ คำสำคัญ: การส่งเสริมภาพลักษณ์/ กระบวนการสื่อสารภาพลักษณ์/ ชุดสื่อประชาสัมพันธ์/ สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย Abstract This objectives of the study were to study aimed at study the wish image of the ASEAN Association –Thailand, to surveying the needs and ways to develop the relations media package, to develop and find the assessment of the relations media package, evaluating the perception, and evaluating the satisfaction towards the developed the relations media package. The tools used in this research were 1) the wish image assessment, 2) the need assessment and ways of developing the relations media package, 3) the relations media package consist of printing media and new media, 4) the content and media assessment from towards the relations media package, 5) the perception assessment from towards the relations media package, and 6) the satisfaction evaluation towards the relations media package. The samples used in study the wish image were 10 peoples who contact with ASEAN Association –Thailand, using the purposive sampling method and the samples used in this study the needs, the perceptions and the satisfaction were 40 peoples who is following fan page of ASEAN Association –Thailand, using the purposive sampling method. The surveyed results revealed that the sample need the relations media package in the most level (x ̅= 4.15, S.D = 0.62). The findings were found that the content quality evaluated by the experts had been identified as very good level (x ̅= 4.68, S.D = 0.24) and very good level in the media term (x ̅= 4.55, S.D = 0.50). When analyzing of evaluating perceptions from the samples, it was found that the sample have perceptions in the very good level (x ̅= 4.54, S.D = 0.51), and the satisfaction evaluated was at the very good level (x ̅= 4.56, S.D = 0.51). In conclusion, the development of the relations media package for promoting image of ASEAN Association-Thailand with Communication image process had the great quality which could be used promoting image of ASEAN Association-Thailand. Keywords : Promoting image /Communication Image Process/ ASEAN Association-ThailandDownloads
Published
2018-07-23
Issue
Section
Academic Articles