การศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามกลุ่มอายุและเพศ : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

Authors

  • กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์
  • นัฎกานต์ วงศ์จิตรัตน์
  • สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร
  • สะการะ หัศภาดล

Keywords:

ภาวะโภชนาการ, น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

Abstract

ภาวะโภชนาการยังเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียนทั้งน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (Risk of overweight and overweight) และน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (Underweight) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กเป็นอย่างยิ่ง หากทราบสภาพของปัญหาได้ก็จะสามารถวางแนวทางแก้ไขต่อไป ซึ่งการวินิจฉัยภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนนั้นนิยมใช้การคำนวณ Body mass index (BMI) เปรียบเทียบกับ BMI for age ของ Centers for Disease Control and Prevention, USA. (CDC) โดยกำหนดภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของ World Health Organization (WHO) การศึกษาครั้งนี้ทำในเด็กนักเรียนชั้นประถมและมัธยมต้นของอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยเก็บข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงจากนักเรียนทุกคนแบบภาคตัดขวาง เปรียบเทียบ BMI for age ระหว่างเพศและเปรียบเทียบกับ 50th percentile ของ CDC ด้วยค่า Correlation (R) พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุโดยใช้ Chi-square test ที่ p value < 0.05 เมื่อแยกตามภาวะโภชนาการโดยแบ่งป็น normal, underweight, risk of overweight และ overweight พบว่ากลุ่มอายุ 6-9 ปีมีปัญหา underweight มากที่สุดและกลุ่มอายุ 9-12 ปีมีปัญหา risk of overweight และ overweight มากที่สุด การศึกษานี้เพศหญิงมีจำนวนมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่าจึงทำให้เพศหญิงมีภาวะโภชนาการเหมือนกับภาพรวมของเด็กนักเรียนทั้งหมดในอำเภอองครักษ์ ส่วนเพศชายนั้นไม่พบความแตกต่างของภาวะโภชนาการระหว่างกลุ่มอายุ ค่าเฉลี่ย BMI for age ของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์มีค่าใกล้เคียงกับ 50th percentile ของ CDC ปัญหาโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และโภชนาการเกินมาตรฐานพบมากในกลุ่มอายุ 6-9 ปีและ 9 -12 ปีตามลำดับ เพศหญิงจะมีภาวะโภชนาการในแต่ละกลุ่มอายุแตกต่างกันไม่เหมือนเพศชาย อย่างไรก็ตามการติดตามภาวะโภชนาการควรเป็นการศึกษาแบบ Cohort จึงจะเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ

Downloads