การสร้างเครือข่ายทางสุขภาพและครอบครัวในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ : กรณีศึกษารูปแบบการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของครอบครัวมารดาหลังคลอด ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Authors

  • อุมาภรณ์ กั้วสิทธิ์
  • ภคินี ศรีสารคาม
  • ภารดี ประเสริฐวงษ์

Keywords:

เครือข่ายทางสุขภาพและครอบครัว, สตรีวัยเจริญพันธุ์, รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองมารดาหลังคลอด

Abstract

การวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ( Survey Research )มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของครอบครัวมารดาหลังคลอดโดยเลือกศึกษาในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีครอบครัวที่มีมารดาหลังคลอดเป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 26 ครอบครัว การดำเนินกิจกรรม การสร้างเครือข่ายทางสุขภาพของสมาชิกและผู้ดูแลในชุมชนของครอบครัวที่มีมารดาหลังคลอด ได้แก่ การประเมินในส่วนของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การประเมินจากพฤติกรรมการดูแลตนเองของครอบครัวที่มีมารดาหลังคลอดและประเมินจากภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดและทารกภายหลังดำเนินการมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยวิเคราะห์เชิงปริมาณ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด ผลการวิจัยพบว่าการประเมินครอบครัวของมารดาหลังคลอดในระยะเตรียมการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี(คะแนน 2.68 )ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบ ได้แก่ ไม่ทราบวิธีการคุมกำเนิด การรับประทานอาหารที่แสลงบางอย่างที่ส่งผลเสียต่อมารดาหลังคลอด และทารกแรกเกิด ปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าจากการคลอด การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา เป็นต้น หลังจากการดำเนินกิจกรรม โดยใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองแล้วพบว่ามีพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี(คะแนน 3.12 )แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ( P < 0.05 ) จากการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำร่องในเรื่องการพัฒนาศักยภาพโดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง รวมถึงการพึ่งตนเองโดยมีการพัฒนารูปแบบความสามารถในการดูแลเอง และการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับบุคลากรสุขภาพที่จะตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติการดูแลตนเองและสุขภาพของประชาชนในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป และในการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการเตรียมชุมชนและความพร้อมของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง This survey research that purposed to study using and delveloping self-care model of families have postpartum mothers via establishing cooperate health network in reproductive wemen group by choosed community around Mahasarakam University. The sample was 22 postpartum mothers in Tamboon Takonyang and Tambon kamreang.The duration of the reserach was from May, 2005 - May, 2006.A reseach method was divided into 4 phases. The data were collected through participatory observation, self-care behaviors, health status of the postpartum mothers by the qualitative data were analyzed using content analysis while the quantitative data were analyzed using mean. The results of the frist phase untill the last phase on self-care behaviors devide on fair behaviors(mean score 2.68)the score in last phase for self-care behaviors devide on good behaviors (mean score 3.12) is different and non significant. According to their poor health behaviors that the subjects had a lack of health knowleged.The subjects have problems which such as, about that choosed the method for family planning, eatting for food appropriate to promote health, maternal exsuation after delivery, breast feeding for their newborns. Self–care development model for family with the postpartum mothers on the community around Mahasarakam University that inclunding basicconditioning data from, health educationing from, Assessment for Followed up from and assessment self-care behaviors from. The concluded that idea of intergation of health with the delveloped of self-care agency model was a process, which could be used to promote self-care and knowleged for practice to provide and family with postpartum mothers in this area . The health professionals lead to awarness of their health and developed the model for anothers group.

Downloads