เนื้องอกในมดลูกวชิรพยาบาล

Authors

  • วิเชียร มโนเลิศเทวัญ

Keywords:

เนื้องอกในมดลูก

Abstract

จากการศึกษาผู้ป่วยในแผนกนรีเวชกรรมที่วชิรพยาบาล จำนวน 1984 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเนื้องอกมดลูก 207 ราย (ร้อยละ10.43) หรือเป็นร้อยละ 14.60 ของการผ่าตัดทางนรีเวชกรรมทั้งหมด ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 40-49 ปี (ร้อยละ 56.52) พบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่ได้แต่งงาน ร้อยละ 27.05 แต่งงานแต่ไม่มีบุตรร้อยละ 19.45 อาการและอาการแสดงที่นำมาพบแพทย์มากที่สุดคือ มีเลือดออกผิวปกติที่ช่องคลอด(ร้อยละ 33.77) สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องก่อนผ่าตัดร้อยละ 75.36 ชนิดของเนื้องอก พบชนิด intramural มากที่สุด (ร้อยละ 49.28) ส่วนชนิดที่ทำให้เลือดออกผิวปกติทางช่องคลอดมากที่สุดคือ submucous (ร้อยละ 87.50) พยาธิสภาพอื่นๆที่พบร่วมด้วย ได้แก่ adenomyosis (ร้อยละ14.91) endometriosis (ร้อยละ13.16) การรักษาโดยการผ่าตัดส่วนใหญ่ทำการผ่าตัดเอามดลูกออกทางช่องท้อง (ร้อยละ 90.34) สำหรับ myomectomy ทำเพียงร้อยละ 8.21 ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดพบน้อยโดย febrile morbidity พบมากที่สุด (ร้อยละ 24.54) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช่เวลาอยู่โรงพยาบาล 1-2 วันก่อนผ่าตัด(ร้อยละ 68.12) และใช้เวลา 7-9 วันหลังผ่าตัด (ร้อยละ 78.74) ไม่พบการตายจากการศึกษานี้ 1984 patients admitted at Vajira hospital in gynecologic ward were studied. There were 207 patients with leiomyoma uteri. The prevalence of leiomyoma uteri was 10.43% of all gynecologic patients admitted, or 14.60% of the performed gynecologic operations. Most of the petients were between 40-49 years of age(56.52%). 27.05% of patients were unmarried and 15.46% of married patients were nulliparous. The most common presentation was abnormal uterine bleeding(33.77%). The pre- operative diagnnsis was correct in 75.36%. The most common type of leiomyoma uteri was intramural (49.28%), but the type that mainly caused abnormal uterine bleeding was submucous type (87.50%). The other associated pathologic findings were adenomyosis(14.91%) and endometriosis (13.16%). Total abdominal hysterectomy was performed in 90.34% of patients and myomectomy only in 8.21% of patients. The operative compilcations were rare. Febrile morbidity was the most common finding (24.54%). In most cases, the patients stayed in the hospital 1-2 pre-operative days (68.12%) and 7-9 postoperative days (78.74%). There wasno operative death in this study.

Downloads