ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนัก เกินมาตรฐานและภาวะอ้วน โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การศึกษาครัง้นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและภาวะอ้วน โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร (2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียน โดยจำแนกตาม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม และ(3)เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ต่อพฤติกรรมการบริโภคและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขัน้ ตอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทัง้หมด 395 คน ประกอบด้วยนักเรียนชายร้อยละ 46.33 นักเรียนหญิงร้อยละ 53.67 วิเคราะห์หาค่าภาวะโภชนาการของนักเรียนโดยการคำนวณค่าน้ำหนักต่อส่วนสูงของนักเรียน พบนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานร้อยละ 48.08 และภาวะอ้วนร้อยละ 53.92 ผลการวิเคราะห์มีดังนี้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับเสี่ยงน้อยมากต่อภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและภาวะอ้วนและนักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในระดับน้อยปัจจัยนำต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบนักเรียนที่มี เพศต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเอื้อ พบว่า นักเรียนที่มีปัจจัยเอื้อต่อการบริโภคอาหารต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยเสริม พบนักเรียนที่มีปัจจัยเสริมต่อการบริโภคอาหารต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกันปัจจัยนำต่อพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักเรียน พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีปจั จัยเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกายต่างกัน มีพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยเสริม พบว่า นักเรียนที่มีปัจจัยเสริมต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกายต่างกัน มีพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายไม่แตกต่างปัจจัยเอื้อต่อการบริโภคอาหาร เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายการผันแปรพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้ร้อยละ 17.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า ß = 0.379 และค่า b = 36.29 โดยสามารถสร้างตัวแบบของความสัมพันธ์ได้ y = 44.54+36.29 x1 ในขณะที่ปัจจัยนำ เพศ และปัจจัยเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกายสามารถร่วมทำนายการผันแปรพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ได้ร้อยละ 3.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบตัวแปรที่เข้าทำนายลำดับแรกคือ เพศ (ß = 0.13 และค่า b = 7.54) และลำดับสองคือ ปัจจัยเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย (ß = 0.141 และค่า b = 5.10) โดยสามารถสร้างตัวแบบของความสัมพันธ์ได้y = 51.53 +7.54 x1 +5.096 x2 คำสำคัญ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการปฏิบัติทางกายDownloads
Published
2012-06-25
Issue
Section
Research