ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสรรมถภาพทางกายของวัยรุ่นที่มีสมรรถภาพทางกายต่ำ

Authors

  • สุนิภา ยุวกิจนุกูล
  • มยุรี ศุภวิบูลย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของวัยรุ่นที่มีสมรรถภาพทางกายต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย ที่มีผลการทดสอบสมรรถภาพอยู่ในระดับต่ำ จำนวนทั้งหมด 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simply Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน ปฏิบัติทักษะกีฬาแฮนด์บอล, ฟุตบอล และบาสเกตบอล กลุ่มทดลอง 30 คน ฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่าพื้นฐาน 5 ท่า (5BX : 5 Basic Exercises) ของกองทัพอากาศแคนาดา  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา  10 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของการทดสอบสมรรถภาพทางกายพื้นฐานตามแบบของคณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบรณ์ทางกาย(ICSPFT) ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 และ สัปดาห์ที่ 10 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation), Independent sample t-test, One – way analysis of variance with repeated  measures เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 พบว่าความสามารถในการวิ่ง 50 เมตร  ยืนกระโดดไกล  แรงบีบมือ  ลุก-นั่ง 30 วินาที  ดึงข้อ  วิ่งเก็บของ  วัดความอ่อนตัว และวิ่ง 1000 เมตร คือ 9.15, 147.17, 24.72, 22.70, 0.33, 12.39, 3.10 และ7.17 ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 พบว่า ด้านความเร็ว (วิ่ง 50 เมตร)  ความอดทนของกล้ามเนื้อ(ลุก-นั่ง 30 วินาที และการดึงข้อ)  ความแคล่วคล่องว่องไว(วิ่งเก็บของ) ความอ่อนตัว(การวัดความอ่อนตัว) และความอดทนทั่วไป(วิ่ง 1000 เมตร) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พลังกล้ามเนื้อ(การยืนกระโดดไกล) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (แรงบีบมือ) ไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มควบคุมภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10  พบว่า การวิ่ง 50 เมตร  ยืนกระโดดไกล  แรงบีบมือ  ลุก-นั่ง 30 วินาที  วิ่งเก็บของ  วัดความอ่อนตัว  วิ่ง 1000 เมตร มีความแตกต่างกันกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการดึงข้อ พบว่า ไม่แตกต่างกันกับก่อนการฝึก 4. เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มทดลอง ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 พบว่า การวิ่ง 50 เมตร  ยืนกระโดดไกล  แรงบีบมือ  ลุก-นั่ง 30 วินาที  การดึงข้อ  วิ่งเก็บของ  วัดความอ่อนตัว และ วิ่ง 1000 เมตร มีความแตกต่างกันกับก่อนการฝึก สรุปผลการฝึกออกกำลังกายโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของวัยรุ่นที่มีสมรรถภาพทางกายต่ำ  โดยใช้การทดสอบสมรรถภาพของคณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย (ICSPFT: International Committee for Standardization of Physical Fitness Test)  หลังจากผ่านการฝึกสัปดาห์ที่ 10  ไปแล้วพบว่ามีการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้น

Downloads

Published

2013-03-21