การเปรียบเทียบโปรแกรมการฝึกแบบไอโซคิเนติกในกล้ามเนื้อขา ที่มีผลต่อการออกตัวของนักกรีฑาระยะสั้น ในช่วง 10 เมตร แรก
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาผลของการฝึกแบบไอโซคิเนติกที่ความเร็ว 90 Deg/s กับ 120 Deg/s ในกลุ่มกล้ามเนื้อขา ที่มีต่อการออกตัวของนักวิ่งระยะสั้นในช่วง 10 เมตรแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษา จำนวน 21 คน (ชาย = 15, หญิง = 6) อายุเฉลี่ย 20.05 ปี, ส่วนสูงเฉลี่ย 172.10 เซนติเมตร, น้ำหนักเฉลี่ย 64.90 กิโลกรัม ถูกแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน และทำการสุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลองโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ คือ 1.กลุ่มฝึกที่ความเร็ว 90 Deg/s, 2. กลุ่มฝึกที่ความเร็ว 120 Deg/s และ 3.กลุ่มควบคุม กลุ่มฝึกทั้งสองกลุ่มได้รับโปรแกรมการฝึกไอโซคิเนติกแบบ Concentric Contraction อย่างเดียว ในท่า Back Squat จำนวน 3 เซต ๆ ละ 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย กำลัง ความแข็งแรง ความเร็ว อัตราเร่ง และ ปฏิกิริยาตอบสนอง ใช้แบบแผนการทดลองแบบวัดซ้ำ 3 ระยะ (Repeated Measure Design) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ One Way MANOVA with Repeated Measure, และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ภายหลังพบนัยสำคัญทางสถิติด้วยวิธี Scheffe’ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05ผลการศึกษา พบว่า การฝึกที่ความเร็ว 90 Deg/s ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม ด้านกำลัง (Vertical Jump (partial h2 = 0.787), Step 1 Distance (partial h2 = 0.913), และ Force 1 jump (partial h2 = 0.978)) ด้านความแข็งแรง (Height Jump (partial h2 = 0.879), Impulse (partial h2 = 0.954)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.787 – 0.978 ในขณะที่การทดสอบ ด้านความเร็ว อัตราเร่ง และ ปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวแปลที่เหลือไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มที่ได้รับการฝึกที่ความเร็ว 120 Deg/s ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกำลัง (Vertical Jump (partial h2 = 0.929), Step 1 Distance (partial h2 = 0.799), และ Force 1 jump (partial h2 = 0.862)) ด้านความแข็งแรง (Height Jump (partial h2 = 0.779)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.929 – 0.779 ส่วนตัวแปรที่เหลือได้แก่ ด้านความเร็ว อัตราเร่ง และปฏิกิริยาตอบสนอง นั้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดลอง Height Jump, Impulse และ Force 1 jumpผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผลของการฝึกแบบไอโซคิเนติกที่ความเร็ว 90 Deg/s ด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบ Isokinetic Dynamometer ยี่ห้อ Ariel dynamic รุ่น Aces ในท่า Back squat สามารถที่จะพัฒนา ในเรื่องของกำลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถที่จะพัฒนาในเรื่องของ ความเร็ว, อัตราเร่ง และ ปฏิกิริยาตอบสนอง ทั้งนี้ ผลที่ได้มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นนัยสำคัญทางปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบและท่าทางในการฝึก ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการฝึก ตลอดจน โปรแกรมที่ใช้ในการฝึกควรมีการเพิ่มระยะเวลาในการฝึก ความถี่, จำนวน และระยะเวลาในการพักระหว่างเซต เพื่อเพิ่มการทำงานให้กับกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้นDownloads
Published
2013-03-21
Issue
Section
บทความวิจัย