เปรียบเทียบผลการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยการใช้ไม้พลองกับไม่ใช้ไม้พลอง ที่มีต่อความอ่อนตัว
Abstract
จุดมุ่งหมายในการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อสองแบบโดยการใช้และไม่ใช้ไม้พลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพศชายจากโรงเรียนพานพิเศษพิทยา จำนวน 36 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 15 ปี ได้มาด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายแล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่มเท่า ๆ กัน โดยใช้คะแนนการทดสอบความอ่อนตัวของลำตัวเป็นเกณฑ์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึก กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกความอ่อนตัวโดยใช้ไม้พลองและกลุ่มทดลองที่ 2 ทำการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยไม่ใช้ไม้พลอง ช่วงเวลาในการฝึกประมาณ 40 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วัดความอ่อนตัวในท่านัง่ก้มตัวช่วงก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. คะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวก่อนการฝึกของทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ของกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวของกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การฝึกความอ่อนตัวทั้งสองแบบจึงให้ผลดีต่อการพัฒนาความอ่อนตัวเท่าเทียมกัน2. คะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวของทั้ง 3 กลุ่ม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 แตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น คะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ก็แตกต่างจากหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Published
2012-06-25
Issue
Section
Research