แรงจูงใจในการเลือกเล่นกรีฑาของเยาวชน ในจังหวัดลำปาง พ.ศ. 2551
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการเลือกเล่นกรีฑาของเยาวชนจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันกรีฑานักเรียนจังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2551 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 252 คน ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการเลือกเล่นกรีฑาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจของเยาวชนชายและเยาวชนหญิงโดยใช้ สถิติที(t – test) และสถิติเอฟ (F – test) ผลการวิจัยพบว่า1. แรงจูงใจภายในของนักกรีฑาเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำปาง มีค่าความถี่ในระดับมากที่สุดในด้านความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นนักกรีฑาของจังหวัด เพื่อให้มองดูเป็นที่น่าดึงดูดใจโดดเด่นในสังคมและรู้สึกในคุณค่าของตนเองและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 47.6, 39.7 และ 39.7 ตามลำดับ และระดับแรงจูงใจภายในที่มีค่าความถี่ในระดับน้อยที่สุดในเรื่องความต้องการสู่ความสำเร็จเกี่ยวกับเกียรติยศและชื่อเสียง คิดเป็นร้อยละ 252. แรงจูงใจภายนอกของนักกรีฑาเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำปาง มีค่าความถี่ในระดับมากที่สุดในเรื่องความรู้สึกภาคภูมิใจที่มีการจัดการแข่งขันโดยมีรางวัลเป็นสิ่งกระตุ้น นักกรีฑาเยาวชนที่มีชื่อเสียงทุก ๆระดับจะได้รับการยกย่องและชมเชย คิดเป็นร้อยละ 36.5 และ 28.2 ตามลำดับ และระดับแรงจูงใจภายนอกที่มีค่าความถี่ในระดับน้อยที่สุดในเรื่องการลงโทษว่ากล่าวตักเตือนในนักกรีฑาเยาวชนที่ขาดวินัย คิดเป็นร้อยละ 15.93. ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักกรีฑาระหว่างนักกรีฑาชายและนักกรีฑาหญิง ไม่แตกต่างกัน4. ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักกรีฑาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 2 และ เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054.1 ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักกรีฑาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 และเขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054.2 ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักกรีฑาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 และ เขต 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054.3 ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักกรีฑาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2 และ เขต 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Published
2012-06-22
Issue
Section
Research