ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาแบดมินตัน ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 37
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาแบดมินตัน ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 37 โดยใช้แบบทดสอบ CSAI – 2R(Revised Competitive State Anxiety Inventory – 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่เข้าร่วมการ แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครัง้ ที่ 37 ทั้งหมดจำนวน 295 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบทดสอบความวิตกกังวลแบบ ซีเอสเอไอ – 2อาร์ (CSAI – 2R) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า1. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาแบดมินตันที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 37 ด้านความตึงเครียดทางกายอยู่ในระดับต่ำ ( x =19.28, S.=4.41) ส่วนความวิตกกังวลทางจิตใจ และความวิตกกังวลด้านความเชื่อมัน่ ในตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ( x =21.79, S.=3.90 and x =22.75, S.=3.96ตามลำดับ)2. การเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาแบดมินตันเพศชายและเพศหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครัง้ ที่ 37 มีความตึงเครียดทางกาย ความวิตกกังวลทางจิตใจ และความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่น ในตนเอง ไม่แตกต่างกัน3. การเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาแบดมินตันที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครัง้ที่ 37 ระหว่างนักกีฬาแบดมินตันที่แข่งขันในรอบแรก รอบสอง รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ มีความตึงเครียดทางกาย ความวิตกกังวลทางจิตใจ และความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่แตกต่างกันDownloads
Published
2012-06-22
Issue
Section
Research