วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll
<p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตคณะสังคมศาสตร์ <br />หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ</li> <li>เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ <br />ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและมีคุณค่าทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ <br />ในรูปแบบของวารสารทางวิชาการ</li> <li>เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาการวิจัยใหม่ทางด้านนิติศาสตร์</li> <li>เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า การอ้างอิง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาของกฎหมาย</li> </ol> <p style="font-weight: 400;"><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong></p> <p style="font-weight: 400;">วารสารนิติสาร มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ราย 6 เดือน ดังนี้</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม</li> </ul> <p style="font-weight: 400;"><strong>ประเภทของผลงานทางวิชาการที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p style="font-weight: 400;">วารสารนิติสาร จะพิจารณารับตีพิมพ์ผลงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้</p> <ol> <li>บทความวิชาการ</li> <li>บทความวิจัย</li> </ol> <p style="font-weight: 400;"><strong>ลักษณะการประเมินบทความ</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong> </strong>บทความวิชาการและบทความวิจัยทุกเรื่องจะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ที่กองบรรณาธิการคัดเลือกและพิจารณาเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาของเนื้อหาที่นำเสนอในบทความ และการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินลับทั้งสองทาง (Double-blinded peer review)</p>en-USวารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ3056-9109ข้อสังเกตในการนำมาตรการ การลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16011
<p>บทความทางวิชาการ เรื่องข้อสังเกตในการนำมาตรการ การลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและมาตรการทางกฎหมาย ในการนำมาตรการลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ และศึกษาข้อดี ข้อบกพร่องตลอดถึงปัญหาทางกฎหมายของสถานประกอบการและผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบทางกฎหมาย และปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของสถานประกอบการ โดยศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. 2564 และพระราชฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560</p> <p> จากการศึกษาวิเคราะห์ มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการนำมาตรการลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ดังนี้คือ ในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการ รัฐได้ออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนับเป็นข้อดีของการเลือกออกกฎหมายบังคับใช้โดยรัฐและในประเด็นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเฉพาะคือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ รัฐควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุในด้านสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุและสถานประกอบการที่จ้างแรงงานผู้สูงอายุ อันเป็นการรองรับมาตรการในการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อให้การส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว คือพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสังคมและเศรษฐกิจหลายประการ เช่นสถานประกอบกิจการตามมาตรา 3 แห่งพระราชฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ กำหนดเฉพาะบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญธรรมดาหรือคณะบุคคล และการกำหนดจำนวนลูกจ้างผู้สูงอายุไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนลูกจ้าง ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ และข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้บทบัญญัติที่เจาะจงเฉพาะผู้สูงอายุตามมาตรา 4(2) คือจะต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จ้างอยู่ก่อนแล้ว หรือที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมจัดหาแรงงานกระทรวงแรงงานรวมทั้งความไม่เหมาะสมของค่าจ้างตามมาตรา 3 วรรคท้ายเป็นต้น</p> <p>Abstract</p> <p>academic article on Observation on the Implementation of Tax Deduction Measures for Businesses Employing Older Workers has the objective to study the concept, theory and legal measure in the application of tax deduction measure of business establishment in employing the elderly. The study includes the advantages and disadvantages as well as the legal problem of the business establishment and the elderly that have been legally affected, the problem of obstacles to the promotion of the employment of the elderly by the business establishment. The study will be conducted by the analysis of the Act on the Elderly B.E. 2546 (2003 A.D.), and the Royal Decree issued under the Revenue Code No. 639 B.E. 2560. As a result of the study and analysis, there are some observations relating to the introduction of the application of tax deduction for the business establishments hiring the elderly. To apply the tax deduction measure by the business establishment, the State has promulgated the Royal Decree which is the legislation promulgated by the executive branch and can be conveniently modified. This method can be considered as a better choice for the State to issue the Royal Decree. For the congruency of this point, the State should amend the Act on the Elderly in the area of the benefit of the elderly and the business establishments hiring the elderly. It will be a supporting measure to promote the business establishment to hire more elderly employees. In addition, there are some more observations about the Royal Decree that it is not congruent with the current social and economic situations, for example, the business establishment under Article 3 of the Royal Decree issued under the Revenue Code relating to revenue tax exemptions provides that only limited liability company and registered ordinary partnership are entitled to such exemption. It does not cover the ordinary partnership or group of <br />individuals. It also limits the percentage of employment of the elderly employees to not more than 15% of the total number of employees which is not congruent with the present context of social and economic situation. Another observation is related to the application of Article 4 (2) which specifically applies to the elderly employees who are already employed by the limited liability company and registered limited partnership or have previously registered with the Department of Labor Employment, Ministry of Labor. Another inappropriate provision is about the <br />fixing of wages under the last paragraph of Article 3.</p>บัญชา วิทยอนันต์ Buncha Witthayaanunกำธร กำประเสริฐ Kamthorn Kamprasert
Copyright (c) 2024 นิติสาร
2024-06-202024-06-2011119มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษากรณี สินค้าด้อยคุณภาพร้านทุกอย่างยี่สิบบาท
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16013
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและใช้สินค้าด้อยคุณภาพ 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องเสียหายจากการใช้สินค้า ด้อยคุณภาพ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ครอบคลุมถึงการผลิต การจำหน่าย และการนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจุบันกระบวนการผลิตสินค้ามีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและสินค้าที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้นสามารถก่อความเสียหาย ๆ ได้มากกว่าสินค้าพื้นฐาน อีกทั้งระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปโดยสินค้าชิ้นหนึ่งอาจมีผู้ผลิตส่วนประกอบหลายอย่าง และผ่านมือผู้จัดจำหน่ายผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีกอีกหลายรายกว่าจะมาถึงผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค ดังนั้นผู้ซื้อจึงไม่อาจใช้ความระวังที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ หรือหากผู้ซื้อจะต้องหาข้อมูลดังกล่าว ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง จึงทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม และได้รับความเดือดร้อนจากการใช้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ก็มิได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และแม้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้บริโภคในทางแพ่งได้ แต่การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคก็ใช้หลักการของการดำเนินคดีละเมิดทั่วไปจึงไม่ก่อให้เกิดการเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้อย่างเป็นธรรม ส่วนกฎหมายควบคุมสินค้าบางชนิดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2510 ก็เป็นกฎหมายควบคุมเฉพาะสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายเท่านั้น ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับอาหารและยาก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องการขอใบอนุญาตสำหรับผลิตและจำหน่ายโดยไม่ได้กำหนดความรับผิดทางแพ่ง ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนี้จึงต่างมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้ความคุ้มครองและเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้เท่าที่ควร</p> <p>ระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ (Common Law) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อเยียวยาความเสียหายจากการบริโภคสินค้าไม่ได้มาตรฐาน (Defective Products) ในลักษณะเป็นการปรับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคThe Consumer Protection (Fair Trading) Act (Cap. 52A), 2012 ซึ่งได้วางแนวทางที่สำคัญอันจึงควรนำมาปรับใช้กับกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน (Defective Product) ได้ดียิ่งขึ้นและนำไปสู่การพัฒนากฎหมายของประเทศไทยต่อไป</p> <p>Abstract</p> <p>The objectives of this research are 1) to study the problems and impacts resulting from the production and use of inferior products 2) to study legal measures regarding the protection of consumers who are damaged using inferior products 3) to Study and find ways to improve Amending the Consumer Protection Act B.E. 2522 to cover the production, sale, and importation of inferior products.</p> <p>The results of the research concluded that The Consumer Protection Act 2019 also does not define the relationship between producers and consumers. And even though the Consumer Protection Board has the authority to take legal action on behalf of consumers in civil cases But filing a lawsuit to claim damages on behalf of a consumer uses the principles of general tort litigation and thus does not provide fair relief to the injured person. While the common law system of the United States has been used as a legal measure to compensate for damages from the consumption of substandard products. In the nature of adjusting the law regarding consumer protection. This has laid down important guidelines that should be applied to Thai law to achieve consistency in better protecting consumers from substandard products and lead to further development of Thai law. The definition in Section 3 should be amended and added in Section 2, Section 1, adding Section 1/2 to add the definition of the word “Inferior quality products” and “Committee on inferior quality products” and adding sections 29/18, 29/19, 29/20, 29/21</p>ปภาวี เนียมทับ Paprawee Niamtupขนิษฐา สุขสวัสดิ์ Khanittha Sooksawadสุรพล สินธุนาวา Suraphol Sintunava
Copyright (c) 2024 นิติสาร
2024-06-202024-06-20112040แรงงานแพลตฟอร์มกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15883
<p style="font-weight: 400;">ปัญหาเรื่องแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารควรได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานหรือไม่ เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากและดูราวกับว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะนักกฎหมาย รัฐบาล และบริษัทต่างเห็นตรงกันว่าแรงงานกลุ่มนี้ไม่ใช่ลูกจ้าง และไม่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน สังเกตได้จากการเพิกเฉยต่อการเรียกร้องสิทธิของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไรเดอร์จัดเป็นแรงงานอิสระหรือ “ฟรีแลนซ์” (freelancer) ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ผูกสถานะตัวเองกับองค์กรบริษัทใด โดยได้ค่าตอบแทนเป็นเงินรับจ้างตามเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ไม่ใช่ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนเหมือนข้าราชการหรือพนักงานบริษัททั่วไป ลักษณะนี้เองที่ทำให้แรงงานกลุ่มใหม่นี้อยู่นอกกฎเกณฑ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน</p> <p style="font-weight: 400;">ปัจจุบันธุรกิจนี้จะเป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมปัจจุบัน แต่เมื่อพิจารณาลักษณะการทํางานของธุรกิจนี้ จะเห็นได้ว่า ลักษณะการทํางานยังคงเป็นการทํางานในรูปแบบใหม่ที่ยังขาดความชัดเจน อีกทั้งเนื่องจาก ในปัจจุบันภาครัฐยังไม่มีการกําหนดมาตรการในการควบคุมดูแลที่เหมาะสม ทําให้ธุรกิจนี้เผชิญหน้ากับปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินการในหลายส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสวัสดิการของผู้ทํางานให้บริการ รับส่งอาหารให้กับบริษัทแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ผู้ทํางานจํานวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนได้รวมกลุ่มกัน เพื่อเรียกร้องต่อบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ทํางานได้รับสิทธิและ ความคุ้มครองตามกฎหมายที่เหมาะสม</p> <p style="font-weight: 400;">Labor issues: Food delivery platforms should be protected by labor laws. Whether or not this is a matter of great debate is a matter of great debate and it seems as though all parties directly involved in the matter, especially lawyers, governments and companies, agree that these workers are not employees. and do not have the right to be protected under labor law It can be seen from the neglect of the request. Rights of workers on food delivery platforms that are constantly moving, Rider is classified as a type of independent worker or "freelancer" (freelancer), which does not tie their status to any corporate organization. The compensation is paid according to the conditions of the employment contract. It is not a monthly lump sum payment like civil servants or general company employees. This characteristic makes this new group of workers outside the rules of labor protection laws.</p> <p style="font-weight: 400;">Nowadays, this business is very popular in today's society. But when considering the nature of work of this business, it can be seen that the nature of work is still a new form of work that still lacks clarity. Moreover, because at present the government sector has not established measures to control and supervise. That's appropriate. causing this business to face problems Concerning operations in many parts Especially issues related to the rights and welfare of service workers. Delivering food to platform companies as a result, many workers who have suffered have banded together. To call on the company and related agencies to solve the problem so that workers receive their rights and Appropriate legal protection.</p>ภณิดา ไชยคราม Phanida Chaiyacramกษิดิ์เดช สุทธิวานิช Kasidech Sutthivanich
Copyright (c) 2024 นิติสาร
2024-06-202024-06-20114165ข้อพิจารณาการความรับผิดทางอาญามาตรา 289 (1) กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ที่เลี้ยงดูมา
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15951
<p style="font-weight: 400;">กฎหมายอาญาในประเทศไทยมีขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลหลากหลายประการ รวมถึงการคุ้มครองสังคมให้บุคคลในสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมีระเบียบและคงไว้ซึ่งศีลธรรมอันดี โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญานั้น ประกอบไปด้วย บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิด บัญญัติโทษของการกระทำนั้น และคุณธรรมทางกฎหมายที่แฝงอยู่ในทุก ๆ ความผิดฐานต่าง ๆ ของกฎหมายอาญา กล่าวถึงคำว่า “คุณธรรมทางกฎหมาย คือ ประโยชน์ที่กฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครอง” หมายความถึงประโยชน์หรือคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่กฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองไว้ หากขาดคุณธรรมทางกฎหมายไป สังคมก็จะไม่เป็นสังคมที่สงบสุข และหนึ่งในคุณธรรมทางกฎหมายที่สำคัญและใกล้ตัวที่สุดคือ คุณธรรมทางกฎหมายของความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายในลักษณะที่ 10 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังปรากฎตามมาตรา 289 “ผู้ใด ฆ่าบุพการี...ต้องระวางโทษประหารชีวิต” นั้น ได้บัญญัติคุณธรรมทางกฎหมายในการคุ้มครองศีลธรรมทางศาสนาของพุทธศาสนา และค่านิยมของประชาชนในประเทศไทย ที่มองว่าบุพการีนั้นถือเป็นบุคคลที่มีพระคุณอย่างยิ่ง การฆ่าบุพการีนั้นถือเป็น อนันตริยกรรม หรือกรรมที่หนักสุดในข้อปิตุฆาตหรือมารุฆาต ซึ่งขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายจึงให้ความคุ้มครองบุพการีมากกว่าบุคคลทั่วไป สังเกตได้จากโทษของมาตรา 289 ที่กำหนดความผิดมากกว่ามาตรา 288 อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคลที่ในสังคมถือได้ว่าเป็นผู้มีพระคุณไม่แพ้บุพการี ก็คือ ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบิดามารดาบุญธรรม และผู้ที่เลี้ยงดูมานั้นเอง บทความวิชาการฉบับนี้จึงมุ่งวิเคราะห์ถึงการคุ้มครองทางกฎหมาย วิธีการให้ความคุ้มครองที่มากกว่าบุคคลทั่วไป คุณธรรมทางกฎหมาย และเหตุผลที่กฎหมายอาญามาตรา 289 ควรจะบัญญัติให้รวมไปถึง บิดามารดาบุญธรรม และผู้ที่เลี้ยงดูมาด้วย</p> <p style="font-weight: 400;">Abstract</p> <p style="font-weight: 400;">Criminal law in Thailand is established for various reasons, including the protection of societal harmony, ensuring individuals coexist peacefully with a set of ethical standards. The essence of criminal law comprises the prohibition of wrongful acts, the penalties associated with those acts, and the legal principles embedded in every offense under criminal law. The term "legal morality" refers to the benefit or value of coexisting in a society that the law seeks to protect. Without legal morality, society cannot achieve tranquility. One crucial legal moral principle is the protection of life and body, as evident in Article 289 of the Criminal Code, which states, "Whoever causes the death...shall be liable to the death penalty." This provision establishes a legal moral standard to protect Buddhist religious values and public sentiment in Thailand, considering a person who has been killed as someone deserving special consideration.<br />However, individuals in society considered to be equally deserving of respect as a person killed are the adoptive parents and caregivers. This academic paper aims to analyze the legal protection afforded, going beyond that given to the general population. Legal morality and the reasons why Criminal Code Section 289 should encompass adoptive parents and caregivers are discussed.</p>รัฐสภา จุรีมาศ Rattasapa Chureemasกฤติน แสนสระดี Kittin Sansadee
Copyright (c) 2024 นิติสาร
2024-06-202024-06-20116685Legal Measures on Pollution Control A case study of marine cargo handling in Map Ta Phut
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15832
<p style="font-weight: 400;">The Map Ta Phut area was originally near the sea, rich in natural marine resources such as fish, shellfish, and other aquatic animals. Although sandy, it can cultivate crops such as mangoes, cassava, pineapples, and sugar cane, including rice farming. Therefore, the traditional occupations of the people in the Map Ta Phut community can classified into three main types: trade, fishery, and farmers. Later, when the government planned to develop the eastern seaboard area by Map Ta Phut into an industrial location, pollution and environmental impacts in the Map Ta Phut area were essential problems that should prevented and solved urgently due to the above problems affecting ecosystems and marine resources, As well as affecting the livelihood of the people in Map Ta Phut in terms of economy, society, environment, and tourism, adaptation of people in the community Map Ta Phut area designated as the modern and largest heavy industry zone. There are various types of heavy industries, and they are all highly polluting. This article will discuss pollution caused by marine cargo handling in Map Ta Phut municipality, such as problems of dust from loading and unloading products, garbage, and sewage problems from ships, problems of wastewater from ships and ship washing, including studying legal problems related to pollution control arising from the transshipment of marine products found that enforcement of relevant laws is not yet comprehensive in all areas and the lack of an agency specifically responsible for the prevention and suppression of pollution arising from marine cargo handling.</p>Visitsak NuengnongPuvadol Damsanit
Copyright (c) 2024 นิติสาร
2024-06-202024-06-201186100