https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/issue/feed
วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2024-12-26T00:00:00+00:00
รองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ ไตรพงษ์
pornpent@g.swu.ac.th
Open Journal Systems
<p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตคณะสังคมศาสตร์ <br />หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ</li> <li>เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ <br />ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและมีคุณค่าทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ <br />ในรูปแบบของวารสารทางวิชาการ</li> <li>เพื่อสร้างสรรค์ พัฒนา และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาการวิจัยใหม่ทางด้านนิติศาสตร์</li> <li>เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า การอ้างอิง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาของกฎหมาย</li> </ol> <p style="font-weight: 400;"><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong></p> <p style="font-weight: 400;">วารสารนิติสาร มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ราย 6 เดือน ดังนี้</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม</li> </ul> <p style="font-weight: 400;"><strong>ประเภทของผลงานทางวิชาการที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p style="font-weight: 400;">วารสารนิติสาร จะพิจารณารับตีพิมพ์ผลงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้</p> <ol> <li>บทความวิชาการ</li> <li>บทความวิจัย</li> </ol> <p style="font-weight: 400;"><strong>ลักษณะการประเมินบทความ</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong> </strong>บทความวิชาการและบทความวิจัยทุกเรื่องจะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ที่กองบรรณาธิการคัดเลือกและพิจารณาเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาของเนื้อหาที่นำเสนอในบทความ และการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินลับทั้งสองทาง (Double-blinded peer review)</p>
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15833
Legal Problems Regarding the Definition of the Word "Factory" According to the Amended Factory Act B.E. 2535 with Air Pollution Problems: A Case Study of a Rice Mill Factory in Chanthaburi Province.
2024-07-02T15:53:28+00:00
Puvadol Damsanit
Puvadol.d@rbru.ac.th
<p style="font-weight: 400;"> </p> <p><span class="s9">This research investigates air pollution from small business organizations, particularly rice mills, in Chanthaburi Province, focusing on legal gaps in Thailand</span><span class="s9">’</span><span class="s9">s Factory Act B.E. 2535</span> <span class="s9">(1992)</span><span class="s9">. It examines how businesses not qualifying as </span><span class="s9">“</span><span class="s9">factor</span><span class="s9">y</span><span class="s9">” </span><span class="s9">still contribute to pollution, specifically PM2.5 and PM10 dust, impacting public health and the environment amid challenges like forest fires and traffic congestion. By analyzing Thai laws and comparing them with frameworks in Singapore and Sweden, the study aims to propose amendments to Thailand</span><span class="s9">’</span><span class="s9">s Factory Act to tackle air pollution from smaller enterprises better, ultimately raising awareness and suggesting legal reforms for more effective environmental management.</span></p> <p><span class="s9">This research highlights the significant contribution of small rice mills in Chanthaburi Province to air pollution, particularly PM10 emissions, posing health risks to the community. In 2022, air quality </span><span class="s9">monitoring revealed PM levels exceeding safe standards, emphasizing the environmental impact of these operations. The amended Factory Act B.E. 2535</span><span class="s9">(1992)</span><span class="s9"> exempts small businesses from strict regulations by redefining </span><span class="s9">“</span><span class="s9">factory,</span><span class="s9">”</span><span class="s9"> potentially increasing environmental risks as responsibility shifts to local authorities under the Public Health Act. In contrast, Singapore requires factory registration for operations with over ten workers, ensuring stricter environmental oversight. Sweden</span><span class="s9">’</span><span class="s9">s </span><span class="s9">“</span><span class="s9">Polluter Pays Principle</span><span class="s9">”</span><span class="s9"> (PPP) mandates industries to manage pollution and bear associated costs, promoting accountability and sustainability. While Thailand</span><span class="s9">’</span><span class="s9">s amendments prioritize investment, they do so at the expense of environmental protection, raising public health concerns. To mitigate these risks, Thailand should strengthen PPP enforcement through clearer definitions, increased fees for high-risk businesses, improved resource allocation, and enhanced environmental education, fostering long-term sustainability.</span></p> <p class="s58"> </p> <p><span class="s5">Keywords</span><span class="s5">:</span><span class="s9"> Air Pollution, Factory, Rice mill</span></p>
2024-12-26T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15950
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเกษียณอายุในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2024-02-19T08:53:46+00:00
ภาณุพงศ์ สายพันธ์
panupong.saipan@g.swu.ac.th
<p style="font-weight: 400;">การเกษียณอายุในกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นประเด็นที่ท้าทายทั้งกฎหมายและความยุติธรรมในที่ทำงาน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเน้นไปที่ความไม่เป็นมาตรฐานของกฎหมายและนโยบายที่ไม่สอดคล้องกันในการเกษียณอายุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ยุติธรรมในกระบวนการเกษียณอายุ ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกจ้างรู้สึกไม่ได้รับความประมาณค่าตามคุณค่าของตนเอง การระมัดระวังและปรับปรุงกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับการเกษียณอายุมีความสำคัญเพื่อให้สามารถคุ้มครองลูกจ้างและรักษาความยุติธรรมและความเท่าเทียมในที่ทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องและยุติธรรมในปัจจุบันกฎหมายเกี่ยวกับการเกษียณอายุในการทำงานของลูกจ้างยังไม่มีความชัดเจน จึงควรมีการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายในการเกษียณอายุ</p> <p style="font-weight: 400;"><strong> </strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ : </strong>เกษียณอายุ กฎหมายแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน</p>
2024-12-26T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/15949
จำนวนผู้ก่อการของบริษัทจำกัด
2024-05-27T14:52:44+00:00
ภูษณิศา ทับทิมทอง
Phusanisatabtimtong@gmail.com
<p style="font-weight: 400;">บทความนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทางผู้เขียนต้องการทราบถึงความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของมาตรา 1097 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมาตรา 1097 นั้น เป็นเรื่องของการที่จะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัด ต้องมีจำนวนคนตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1097 โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดจำนวนบุคคลไว้เป็นจำนวนสองคน แต่ก่อนที่จะมาเป็นจำนวนสองคน ได้มีการกำหนดจำนวนคนจากเจ็ดคน มาเป็นจำนวนสามคน และมาเป็นจำนวนสองคนตามปัจจุบัน โดยจากที่ได้กล่าวมานั้น จะสังเกตได้ว่าการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น มีจำนวนบุคคลผู้เริ่มก่อการน้อยลงเรื่อย ๆ ทางผู้เขียนจึงต้องการที่จะทราบว่าเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ก่อการน้อยลงมาเรื่อย ๆ จึงได้เกิดเป็นบทความนี้ขึ้นมา</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ : </strong>มาตรา 1097 จำนวนผู้ก่อการ บริษัทจำกัด</p>
2024-12-26T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16184
การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน
2024-08-13T02:45:32+00:00
ศักดิ์มงคล เอื้อคณิต
Somser1123@gmail.com
<p>การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีถึงความเป็นมาปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญากับสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (3) ศึกษาวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา</p> <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารเอกสารกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา ศึกษากรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาของศาล และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวความคิด ทฤษฎีถึงความเป็นมาปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (2) เป็นบทบัญญัติกฎหมายและเปรียบเทียบเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน (3) การวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายในคดีอาญา กรณีการใช้อำนาจในการสอบสวนและการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ พบว่า ตามกฎหมายของประเทศไทยกำหนดเขตอำนาจการสอบสวนไว้อย่างจำกัด แต่ในกฎหมายต่างประเทศได้กำหนดเขตอำนาจการสอบสวนไว้อย่างกว้างขว้าง (4) สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานในการสอบสวนในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวางเพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหาย ผู้ถูกกล่าวหา และพยานในคดีอาญา</p> <p> </p>
2024-12-26T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16043
ปัญหาอายุความฟ้องร้องและอายุความบังคับโทษ กรณีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกเกิน 7 ปี ตามมาตรา 95 (1) มาตรา 95 (2) มาตรา 98 (1) และมาตรา 98 (2)
2024-10-23T08:59:06+00:00
อธิภัทร เจริญถิ่น
Athiphat.nik@gmail.com
<p class="s107"><span class="s106">บทความนี้เป็นการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดอายุความฟ้องร้องและอายุความบังคับโทษ กรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกเกิน 7 ปี ตามมาตรา 95 (1) มาตรา 95 (2) มาตรา 98(1) และมาตรา 98(2) ประมวลกฎหมายอาญาของไทย และกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา</span><span class="s106">เยอรมัน (</span><span class="s106">Strafgesetzbuch: StGB) </span><span class="s106">ประมวลกฎหมายรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (18</span><span class="s106"> U.S.Code.) </span><span class="s106">หรือมาตรการทางกฎหมายของอังกฤษ โดยทำการศึกษาทั้งแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง </span></p> <p class="s107"><span class="s106">จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอายุความคดีอาญาในกรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ตราขึ้นบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน โดยบังคับใช้มาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2500 และมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด ทั้งนี้ แม้จะได้มีการบัญญัติวางหลักขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอนแล้วก็ตาม แต่กลับไม่สอดคล้องกับความร้ายแรงของผลที่ได้รับจากการเกิดอาชญากรรมและยังไม่สอดรับกับบริบททางสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง</span></p> <p class="s107"><span class="s106">ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอายุความคดีอาญาในกรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญาให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของการกระทำความผิด อัตราโทษและความทันสมัยของสังคมและเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้อายุความที่กำหนดขึ้นใช้บังคับของไทยนั้นสามารถบังคับใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ลิดรอนสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินสมควรอีกด้วย</span></p> <p class="s107"> </p> <p class="s107"><span class="s108">คำสำคัญ</span><span class="s108">:</span><span class="s106"> อายุความ คดีอาญา การกำหนดอายุความ</span></p>
2024-12-26T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ