ทุนทางอารมณ์และประเด็นทางการศึกษา

Authors

  • Bénédicte GENDRON

Abstract

งานด้านการศึกษาในสังคมตะวันตก อารมณ์ (emotions) มักไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจนกระทั่งแนวคิดด้านประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ได้เกิดขึ้นมา ส่งผลให้เกิดการปฏิเสธลัทธิแบบทวินิยม (cartesian body-mind dualsism) ที่ว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยกายและจิตใจ โดยแนวคิดด้านประสาทจิตวิทยาเห็นว่าคุณลักษณะด้านจิตพิสัย (affective domain) และด้านพฤติกรรม (conative domain) ไม่สามารถแยกออกจากพุทธิสัย (cognitive domain) ได้อีกต่อไป ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบความคิดของทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital: EK) ที่ได้พัฒนาขึ้นในปี 2004 ได้รับรางวัล Académie Française ในปี 2006 โดยให้ความหมายของทุนทางอารมณ์ว่าเป็น "ทรัพยากร (สมรรถนะทางอารมณ์) ที่ฝังตัวอยู่ในตัวของบุคคล มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาบุคคล อาชีพและองค์กร รวมทั้งมีส่วนร่วมในความผูกพันทางสังคมด้วยผลตอบแทนที่ได้รับทั้งในส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม" ทุนทางอารมณ์เป็้นทุนสำคัญสำหรับทุกคนและในด้านการศึกษาเป็นทุนสำคัญที่จะส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและคนวัยหนุ่มสามกลุ่มที่อาจมีความเสี่ยง ช่วยพัฒนามนุษย์ให้มีความสมดุลจากการมีส่วนร่วมในความผูกพันทางสังคม มีสัมพันธภาพอันราบรื่นกับเพื่อนมนุษย์ มีความสำเร็จในการดำรงชีวิตในสังคมของพวกเขาในอนาคต รวมถึงการยังคงเรียนอยู่ในโรงเรียนและประสบความสำเร็จ

Author Biography

Bénédicte GENDRON

Department of Sciences of Education, University Montpellier 3

Downloads

Published

2012-06-01