วารสารศิลปกรรมศาสตร์ (Fine Arts Journal)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa
en-USวารสารศิลปกรรมศาสตร์ (Fine Arts Journal)ปกหน้า วารสารศิลปกรรมศาสตร์ (Fine Arts International Journal)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11572
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-15222000000ปกหลัง วารสารศิลปกรรมศาสตร์ (Fine Arts International Journal)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11573
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-1522200A00Aกองบรรณาธิการ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11574
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-1522200B00Bสารบัญ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11575
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-15222000C000Cบทบรรณาธิการ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11576
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-1522211ระเบียบการส่งต้นฉบับบทความวารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11587
Editor FOFA
Copyright (c)
2019-01-152019-01-15222133141ศาสตร์และศิลป์แห่งการประพันธ์เพลง : Science and Art of Musical Composition
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11581
<p>การประพันธ์ดนตรี ถือเป็นศาสตร์ทางเสียงที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นด้วยหลักการโครงสร้าง และองค์ประกอบทางดนตรีที่ผู้ประพันธ์เป็นผู้กำหนด นอกจากนี้ยังเป็นศาสตร์หนึ่งทางดนตรีที่ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้ทางทฤษฏีดนตรีหลายด้าน ประกอบกับเทคนิคเฉพาะสำหรับการประพันธ์ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับทักษะพื้นฐานด้านการปฏิบัติดนตรี เพื่อสามารถพัฒนาชิ้นงานได้อย่างเต็มศักยภาพ การศึกษาทักษะพื้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ทางดนตรีได้มีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้นสำหรับผู้เรียนทุกช่วง ทั้งในและนอกระบบอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ยังถือได้ว่าทักษะด้านการประพันธ์ดนตรีและการสร้างสรรค์ทางดนตรี เป็นทักษะการปฏิบัติขั้นสูงในด้านการปฏิบัติดนตรี อีกทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างสรรค์หรือการทดลองทางดนตรีนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดผลงานชิ้นใหม่ ๆ ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับกิจกรรมทางสังคม เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การพัฒนากลุ่มคนไปสู่การพัฒนาชาติในแต่ละระดับอย่างกว้างขวางต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การประพันธ์เพลง การสร้างสรรค์ทางดนตรี การเรียนรู้การประพันธ์เพลง</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Musical composition is an audio science created by the structural principles and musical composition determined by the composer. In addition, it is one of musical sciences that requires learners to learn music theories, specialized composing techniques that require continuous training and practice as well as to have basic skills in music practice in order to develop the work with full potential. By studying basic musical skills for musical creativity, courses are widely held for learners of all levels in both formal and information educational systems. Musical composition and creativity skills are considered as advanced musically practical skills. The benefits of musical creativity and experiment would lead to the development and extension to create new diverse works, which are one of important elements of social activity, generating human potential development. This implies that the development at individual level leads to national development.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Musical composition, Musical creativity, Musical composition learning</p>อมรมาศ มุกดาม่วง
Copyright (c)
2018-01-152018-01-152225061งานสร้างสรรค์บทเพลง “เดี่ยวไวโอลินในบทเพลงเขมรไทรโยค” : Composition : “Violin Solo Khamen Sai Yoke”
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11582
<p>บทเพลงในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบดนตรีสากล ส่งผลทำให้ดนตรีไทยในแบบฉบับดั้งเดิมลดน้อยลง ผู้เขียนจึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์บทเพลงไทยเดิมมาประยุกต์เข้ากับดนตรีสากล โดยใช้เทคนิคสำเนียงทางดนตรีไทยของเครื่องสายผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล คือ เปียโน และพัฒนารูปแบบของดนตรีให้มีความเหมาะสมเป็นดนตรีร่วมสมัย ในผลงานนี้ได้นำบทเพลงเขมรไทรโยค ได้เค้าโครงมาจากบทเพลงเขมรกล่อมลูก โดยท่านสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้<a title="สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" href="https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C"></a>ทรงพระนิพนธ์ แล้วประทานนามบทเพลงว่า เขมรไทรโยค นำมาประยุกต์สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งทำให้ได้บทเพลงที่มีอรรถรสของดนตรีไทย แต่สามารถบรรเลงได้หลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการบรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : งานสร้างสรรค์ดนตรี ; เดี่ยวไวโอลิน ; เขมรไทรโยค ; ดนตรีร่วมสมัย</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong> </strong>At present, the majority of music activities in Thailand prefer to compose and perform in the style resembles popular western music more than Thai traditional music. The reason for that is because Thai traditional music in general is derived from the past generation of Thai people and the music has been passed on to the new generation of Thai people. Therefore, I had been trying to create and integrate contemporary music with traditional music. I have simultaneously incorporating techniques such as, intonation, improvisation, and expression of Thai traditions to high degree with western chord progression and the other musical style of western music, in order to add a new layer to modern Thai music to make it more appealing to modern listeners. I have chosen violin and piano as instruments by having violin played in the style of Thai music and having piano played on the classical and jazz chord progression. The results are astonishing and these instruments complement each other perfectly in contemporary music on the melody of Prince Narisara Nuvadtivongs.</p><p>The name of the classical Thai melody has changed to Khamen Sai Yoke. It was originally called Khamen Klomlook in the past. I had applied and created a new concept which is a combination of integrating Thai and western music to play in the same performance. I also have arranged all indications of signs and dynamic including musical terms such as, bowing and fingering during my arrangement to appropriate to all dementions in contemporary and western music nowadays.</p>โกวิทย์ ขันธศิริ
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152226274การศึกษารูปแบบศิลปกรรมวัดกระซ้าย ต.ปากกราน อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา : A STUDY OF ARTISTRY AT WAT KRASAI, PAK KRAN, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11583
<p>บทความนี้มุ่งศึกษารูปแบบศิลปกรรมและกำหนดอายุโบราณสถานวัดกระซ้าย ต.ปากกราน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์รูปแบบ และเปรียบเทียบกับโบราณสถานอื่นๆ พร้อมทั้งนำเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงวัดนี้มาวิเคราะห์ร่วม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า วัดกระซ้ายน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่า วัดกระซ้ายเป็นวัดที่ถูกใช้งานตลอดสมัยอยุธยา ตราบจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 วัดนี้จึงได้ถูกทิ้งร้างไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>วัดกระซ้าย; เจดีย์ทรงระฆังที่มีชุดฐานรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม; แผนผังวัด<strong></strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong> </strong>This article focuses on fine arts and age of Wat Krasai, PAK KRAN, Phra Nakhon Si Ayutthaya. The data from the survey were analyzed and compare with others archaeological site. The result of study reveal that Wat Krasai were built on Early Ayutthaya Period, around late 20 to early 21 B.E. In addition, we found some evidence which specify that Wat Krasai were used throughout Ayutthaya Period. Until the end of Ayutthaya, this temple has been abandoned.</p> <strong>Keyword: </strong>Wat Krasai; Bell-shaped chedi with octagon platform; Temple diagramปริญญา นาควัชระ
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152227583การพัฒนาความสามารถทางดนตรีด้วยเทคนิคอเล็กซานเดอร์ : The Development of Music Skill with Alexander Technique
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11577
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถทางการเรียนการสอนปฏิบัติดนตรีโดยใช้วิธีการของเทคนิคอเล็กซานเดอร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยเทคนิคอเล็กซานเดอร์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาทบทวนวรรณกรรมแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา แนวคิดทฤษฎีของดนตรีศึกษา ดนตรีกับการพัฒนาทักษะทางร่างกายและสมอง วิธีการสอนเครื่องดนตรี แนวคิดของเทคนิคอเล็กซานเดอร์ หลักการสอนเทคนิคอเล็กซานเดอร์ในทางการสอนดนตรี ตำราที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคอเล็กซานเดอร์ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสอนเทคนิคอเล็กซานเดอร์ โดย Miss Ayumi Akashi เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมการสอนเทคนิคอเล็กซานเดอร์และทดลองสอน ผลการวิจัยปรากฏว่า</p> <p>ผลการพัฒนาความสามารถทางการเรียนการสอนปฏิบัติดนตรีโดยใช้วิธีการของเทคนิคอเล็กซานเดอร์ สามารถแบ่งประเด็นการพัฒนาได้ 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาความสามารถทางด้านจิตใจ การพัฒนาความสามารถทางด้านร่างกาย การพัฒนาความสามารถทางการซ้อมดนตรี และการพัฒนาความสามารถทางทางด้านการแสดงดนตรี โดยที่ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยเทคนิคอเล็กซานเดอร์ ทางด้านเนื้อหาและกิจกรรมอยู่ในระดับที่พึงพอใจมาก อันได้แก่ ความพึงพอใจต่อบรรยากาศของการเรียนที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทางการปฏิบัติ ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติ เนื้อหาความรู้ วิธีการฝึกปฏิบัติการบรรเลงดนตรี ความเข้าใจที่กระจ่างในแนวทางการฝึกฝน วิธีการฝึกการผ่อนคลายร่างกาย ส่วนความคิดเห็นทางด้านประโยชน์ในภาพรวมมีความพึงพอใจอย่างมาก อันได้แก่ ความพึงพอใจในการช่วยในการผ่อนคลายจิตใจ นำทักษะปฏิบัติไปใช้ในการออกแสดงดนตรี ช่วยผ่อนคลายร่างกาย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติเครื่องดนตรี ความสามารถควบคุมร่างกายในการบรรเลงดนตรี ช่วยในการวางแผนการซ้อมดนตรีอย่างมีเป้าหมาย และช่วยทำให้มั่นใจในการบรรเลง และลดความเครียด</p> <p>คำสำคัญ : ดนตรีศึกษา ;เทคนิคอเล็กซานเดอร์ ; การปฏิบัติดนตรี</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The research aims to study the results of the development of teaching and learning ability by using the method of Alexander Technique, and to study music students’satisfaction</p><p>towards the Alexander Technique. The researchers collected all data including Literature review, Theory of Education, Theory of Music Education, Music and the Development of Physical and Mental Skills, How to Teach Music Instruments, Alexander Technique in music teaching including books and all related research in the area. The researchers have attended a workshop about Alexander Technique given by Miss Ayumi Akashi and also the researchers apply and design activity in teaching Alexander Technique in assigned music class. The results are as follows: <br /> The development of teaching and learning music ability by using the method of Alexander Technique can be divided in 4 parts such as the development of mental skill, physical ability, music practices, and music performances. The students are satisfied in learning and doing activity towards the Alexander Technique. For instance, the satisfaction in learning atmosphere; the session ; the content and the method make such a creatived way and relaxing in practice music. The benefit of learning Alexander Technique can help music students not only relax their own body and mind, but also develop their own music technique in progress way.</p> Keywords: music education ; Alexander Technique ; music practiceชนิดา ตังเดชะหิรัญประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์
Copyright (c)
2019-01-152019-01-15222215คู่มือช่วยในการเตรียมตัวสำหรับสอบปฏิบัติเครื่องดนตรีฮอร์นเพื่อเข้าสอบในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย : Handbook of preparation for horn to audition into under-graduate school in Thailand.
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11578
<p>วิจัยฉบับนี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์การสอน และการฟังสอบในระดับอุดมศึกษาเป็นเวลาหลายปีของผู้วิจัย ซึ่งที่ผ่านมาพบปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่เตรียมตัวมาสอบ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนเลือกบทเพลงไม่เหมาะกับการสอบ ไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ มีความตื่นเต้นสูงมาก เมื่อถึงเวลาสอบนักเรียนไม่สามารถทำสอบได้ดี ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าศึกษาในสถาบันที่ตนเองตั้งใจไว้ จากข้อมูลที่รวบรวม และสรุปได้ทำให้ทราบว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ นักเรียนส่วนใหญ่เรียนจากกิจกรรมวงโยธวาทิตที่ใช้ระบบ รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง และมีครูประจำวงดนตรีอยู่คนเดียวที่ต้องสอนทุกเครื่อง ขาดแคลนตำราสำหรับฝึก ขาดแคลนโน้ตเพลงสำหรับฝึก ขาดแคลนผู้ฝึกสอนประจำเครื่องมือเอกนั้นๆ ใช้เวลาในการเตรียมตัวสอบน้อยเกินไป ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้วิจัยมีความตั้งใจจะช่วยแก้ปัญหาให้ทุเลาลง โดยการเก็บข้อมูลงานวิจัย และจัดทำคู่มือช่วยในการสอบปฏิบัติสำหรับเครื่องมือเอกฮอร์นขึ้น</p> <p>ผลสรุปที่ได้จากงานวิจัยมีดังนี้</p> <p>- ควรตัดสินใจที่จะสอบเข้าเรียนเอกดนตรีให้เร็ว</p> <p>- ควรมีเวลาในการเตรียมตัวมากกว่า 6 เดือน</p> <p>- บทเพลงแนะนำสำหรับการสอบ Mozart : Horn Concerto No 3, Saint Saens : Concertpiece, Franz Strauss : Nocturno</p> <p>- จำบทเพลงให้ได้ทั้งหมด เพื่อลดความตื่นเต้นในเวลาสอบ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ฮอร์น ; คู่มือสำหรับฝึกฮอร์น ; สอบปฏิบัติ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract </strong><strong> </strong></p> <p>The research “ Handbook of preparation for horn to audition into under-graduate school in Thailand.” was motivated by the researcher’s experience in teaching and judging for auditions for many years, and has witnessed many students and candidates that bare the same issues, such as, not choosing a proper repertoire, having stage fright and anxiety, being under-prepared and etc. Which led to an unsuccessful audition.</p> <p>Through these facts and experiences, the researcher has come to realize the causes of these problems were most students and candidates were sharing. By learning their instruments thru playing in high school wind bands, they were not given a proper instruction in many regards, since there were no specific instructor for each instrument. Moreover, the lack of teaching and learning materials such as, sheet music, CDs, or method books are widely common in high schools.</p> <p>This research is the intention of the researcher, as a horn player and horn teacher, to moderate these problems and is to be used as a hand book to help preparing a prospect candidate to a successful audition.</p> <p>Conclusions:</p> <p>- The candidate must be well-prepared and have enough time to prepare for the audition (at least 6 months before the audition period).</p> <p>- Example of standard repertoire for audition : Mozart : Horn Concerto No 3, Saint Saens : Concertpiece, Franz Strauss : Nocturno</p> <p>- The candidate should be able to memorize the repertoire in order to reduce anxiety and stage-flight.</p> <strong>Keyword:</strong> Horn; Audition; Horn Handbook.กฤษณ์ วิกรวงษ์วนิช
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152221624ความต้องการของนักเรียนและครูต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาดนตรี กลุ่มสาระศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรุงเทพมหานครเขตภาษีเจริญ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11579
<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี 2) เปรียบเทียบความต้องการของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับชั้น และ 3) ศึกษาความต้องการของครู ปัญหา และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน จำนวน348 คน และครูผู้สอนดนตรีจำนวน 12 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการของนักเรียน2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ของ Scheffe</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนในด้านหลักสูตรต้องการให้มีเนื้อหาสาระของวิชาดนตรีมีรายละเอียดเพียงพอและสามารถเข้าใจง่ายด้านกิจกรรมการเรียนการสอนต้องการให้วิชาดนตรีมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายจากง่ายไปหายาก ด้านสภาพแวดล้อม สื่อและอุปกรณ์ต้องการให้ห้องดนตรีมีแสงสว่างเพียงพอ ด้านการวัดและประเมินผล ต้องการให้มีการสอบโดยใช้ข้อสอบที่เหมาะกับระดับชั้น</p> <p>2. นักเรียนที่มีอายุและระดับชั้นแตกต่างกัน มีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน</p> <p>3. ความต้องการต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาดนตรีพบว่า ด้านหลักสูตร ต้องปรับเนื้อหาบางส่วน โดยคำนึงถึงพื้นฐานของเด็กที่มีความแตกแต่งกัน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน การสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนนั้นทำได้เฉพาะเด็กบางกลุ่มที่มีพื้นฐานดนตรีอยู่แล้ว ด้านสภาพแวดล้อมสื่อ อุปกรณ์ มีไม่เพียงพอ ชำรุด ด้านการวัดและประเมินผล วัดแบบปฏิบัติทักษะดนตรีจะสามารถวัดพัฒนาการของเด็กได้ชัดเจน ปัญหาพบว่า ครูดนตรีขาดแคลน ข้อเสนอแนะ ต้องการให้มีการจัดอบรมดนตรี</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong>ความต้องการต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาดนตรี ประถมศึกษาตอนปลาย</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were 1) to study primary interval 2 students’ needs in music instruction 2) to compare primary interval 2 students’ needs in music instruction on basis of personal factors, i.e., sex, ages, and grades and 3) to study teachers’ needs, problems, and suggestions in music instruction for primary interval 2 school under Bangkok Metropolitan Administration Paseecharoen District. The sample group included 348 students and 12 music teachers. Data were collected using 1) a set of questionnaire on students’ needs and 2) an interview protocol for teachers, and were statistically analyzed by mean, standard deviation, one way-ANOVA, and Scheffe’s Pair Wise Comparison of Mean.</p> <p>The findings revealed the followings.</p> <p>1. The primary interval 2 students’ needs in music instruction in terms of curriculum, they involved sufficient and intelligible contents; in terms of learning activities, they involved</p> <p>varieties of activities ranging from the easiest ones to the most difficult ones; in terms of environment, medias, and instruments, they involved increase of lights in the classroom; and in terms of measurement and evaluation, they involved using test relevant to students’ grades.</p> <p>2. Those who had different age and grades had the different needs in music instruction either in general or individual items.</p> <p>3. The primary interval 2 teachers’ needs in music instruction in terms of curriculum, they involved improvements of some contents based on students’ individual differences; in terms of learning activities, they indicated that child-centred learning could be only applied to those students who had previous musical background; in terms of environment, medias, and instruments, they involved increase of musical instruments; and in terms of measurement and evaluation, they involved using practical test to monitor students’ development. The problems of music instruction referred to lack of music teachers and music training was suggested for further action.</p> <p><strong> </strong></p> <strong>Keywords</strong>: Needs in Music Instruction, Music Course, Interval 2 Primary Educationณภัทร เฟื่องวุฒิโดม สว่างอารมณ์พิมลมาศ พร้อมสุขกุลวรสรณ์ เนตรทิพย์
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152222539การสำรวจการใช้แอปพลิเคชันของครูเปียโนในการเรียนการสอนทักษะทางดนตรีสำหรับผู้เรียนขั้นต้น : USING MOBILE APPLICATIONS FOR PIANO LESSONS: A SURVEY OF PIANO TEACHERS IN BANGKOK
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11580
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอนทักษะทางดนตรีและทัศนคติของครูเปียโนต่อการใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอนทักษะทางดนตรีสำหรับผู้เรียนเปียโนขั้นต้น ได้ทำการเก็บข้อมูลกับครูเปียโนที่ใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอนทักษะทางดนตรีกับผู้เรียนเปียโนขั้นต้น และมีประสบการณ์ในการสอนอย่างน้อย 3 ปี จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ครูเปียโนใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอนทักษะการเล่น การฟัง การอ่าน การร้อง และการสร้างสรรค์ ตามลำดับ ใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 นาทีในแต่ละครั้ง ซึ่งการใช้ แอปพลิเคชันทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น สามารถแสดงทักษะที่พึงประสงค์ได้ดีขึ้น และทำให้ผู้เรียน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้/ความคิดเห็นกับครูและได้รับความรู้มากขึ้น โดยคัดเลือกแอปพลิเคชันจากประโยชน์ที่ได้รับ แอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ง่าย และทักษะที่ต้องการผู้เรียน ตามลำดับ ประกอบด้วย 34 แอปพลิเคชันใน 4 ทักษะดนตรี แบ่งเป็น การเล่น 14 แอปพลิเคชัน การร้อง 3 แอปพลิเคชัน การฟัง 9 แอปพลิเคชัน และการอ่าน 8 แอปพลิเคชัน โดยครูเปียโนมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>แอปพลิเคชัน; ทักษะดนตรี; การเรียนดนตรี<strong></strong></p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this research were to survey the use of mobile applications in music instruction and assess the attitude of piano instructors towards the use of mobile applications for teaching piano to primary students. The data is collected from piano instructors who use applications to teach musical skills to primary school learners. Besides, data was also collected from 62 piano instructors with at least 3 years experience, using a questionnaire as a research tool. The research found that piano instructors use the application to teach students the skills to play, listen, read, sing and to be creative. Piano instructors spend at least 10 minutes each time they use the applications in class. Using applications to teach students makes them become more enthusiastic and be able to improve their skills. Interestingly, students have a chance to exchange their opinions with instructors and they would become more knowledgeable. The piano instructors select applications based on benefits that students would get. Also, choose the easy-to-use application and the skills that learners need to get from the application instructions. There are 34 applications divided into 4 musical skills; 14 applications for playing, 3 applications for singing, 9 applications for listening and 8 applications for reading. The research also found that piano instructors have good attitude towards the use of applications for teaching.</p> <strong>Keyword: </strong>Application; Musical skill; Music learningธรณ์ธันย์ เกษมสถิตย์วงศ์
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152224049ศิลปะภาพพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม:การสร้างสรรค์กระบวนการภาพพิมพ์โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ : Eco-Graphic Arts: Creative Process Printing by Bio-fermentation EM
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11584
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ 2) พัฒนากระบวนการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วยน้ำหมักชีวภาพ และ 3) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์โดยใช้กระบวนการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วยน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้สื่อที่เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ด้วยการทดลองนำเอาน้ำหมักชีวภาพ (EM) มาสร้างสรรค์ผลงาน ใช้เทคนิคภาพพิมพ์ครั้งเดียว (Monoprint) เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามทั้งกระบวนการคิดและกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ และส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม.</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> : </strong>ศิลปะภาพพิมพ์ ; น้ำหมักชีวภาพ<strong></strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objective of this research is 1) to study the creation of graphic arts; 2) to develop the creation of graphic arts by Bio-fermentation (EM); and 3) to create the creation of graphic arts by Bio-fermentation (EM) with healthy and environmentally by using the monoprint technique in order to create an aesthetic arts with the creative thinking and the practices to produce the creative works and beneficial to health, including the environment.</p> <strong>Keywords:</strong> Eco-Graphic Arts; Bio-fermentation (EM)สมพงษ์ ลีระศิริ
Copyright (c)
2019-01-152019-01-152228497การวิจัยเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านแนวแม่น้ำเจ้าพระยา : A study of folk ceramics along the Chao Phraya river.
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11585
<p>การศึกษาวิจัยการผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านแนวแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งภายในชุมชนมีแหล่งวัตถุดิบดินเหนียว และทรายละเอียดจากแม่น้ำปิง ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน อีกทั้งมีเชื้อเพลิงภายในชุมชนที่มีราคาถูก จึงทำให้ยังคงมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ดีและมีราคาถูก เครื่องปั้นดินเผาบ้านคลองสระบัว ตำบลคลองสระบัว อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมเป็นประจำ ทำให้เตาเผาและเครื่องมือเสียหายอีกทั้งไม่มีแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งเชื้อเพลิงภายในชุมชน ปัจจุบันไม่มีการผลิต เครื่องปั้นดินเผาอิฐมอญ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่น้ำจะท่วมทุกปี มีแหล่งวัตถุดิบในชุมชน ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการเผา จึงทำให้มีการผลิตที่มีคุณภาพและต้นทุนการผลิตต่ำ ยังคงมีการผลิตจนถึงปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายในชุมชนไม่มีแหล่งวัตถุดิบและเชื้อเพลิงต้นทุนการผลิตสูง ยังคงมีการผลิตถึงปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาประเภทลายวิจิตรเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมทุกปี ไม่มีแหล่งวัตถุดิบภายในชุมชน ปัจจุบันเหลือเพียง 2 รายที่ยังคงผลิตเพื่อเป็นการสาธิตแก่นักท่องเที่ยว เครื่องปั้นดินเผาบางตะนาวศรี ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ไม่มีวัตถุดิบบริเวณสถานประกอบการ ปัจจุบันสภาพชุมชนเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่มีบ้านเรือนหนาแน่น ซึ่งปัจจุบันไม่มีการผลิต</p> <p>เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านที่ไม่มีการผลิตแต่ยังคงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเหมาะแก่การอนุรักษ์ เช่น เครื่องปั้นดินเผาสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัด ปัจจุบันไม่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไปแล้วคงเหลื่อเพียงซากเตาเผาโบราณ จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาทางประวัติศาสตร์เตาเผาตุ่มสามโคก</p> <p>คำสำคัญ: เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน; แนวแม่น้ำเจ้าพระยา</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>A study of folk ceramics along the Chao Praya river.</strong></p> <p>This research is aimed to study the community, who’s produces the folk ceramics (pottery) along ChaoPraya river, which there have the raw materials such as clay and fine sand for making pottery also low cost of firing as well for instances, Baan Kang’s pottery, Muang district, Nakornsawan province. Baan KlongsraBau’s pottery, KlongsraBau, Muang district, Ayodhya province which this area is flooding every year. It’s damaged all materials and kiln and this community is not produced the pottery any more. Even some are area, there are faced lorth flooding but still produce there pottery such as Mon brick, BangBaal districk, Ayodhya province. Pakkled’s pottery, Pakkled district, Nonthaburi province. KorKled fine pottery, Pakkled district, Nonthaburi province even this community still facing flooded every year and there is no material to produced, only two families are demonstrating the pottery for tourist. Also Bang TanowSri pottery, SuanYai, Muang district, Nonthaburi province, there is no produced the pottery because this area is surrounding with new communities and very densest.</p> <p>Historically, the folk ceramics (pottery) has the contexts and mode of living with community and must be preserved, for instance SamKhok pottery, Samkhok district, Pathumthani province which its historical blister even it’s decomposed but the historical value, the one must be learn from history of SamKhok blister.</p>Keyword: folk ceramics; along ChaoPraya riverพนมศักดิ์ สุวิสุทธิ์
Copyright (c)
2019-01-152019-01-1522298114เรื่อง การถ่ายทอดรำวงพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ : Transferring Local Dancing in Nakhonsawan Province
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/view/11586
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของการแสดงรำวงพื้นบ้าน จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการแสดงรำวงพื้นบ้าน จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการศึกษาจาก ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แสดง และชาวบ้าน มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับรำวงพื้นบ้านในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ และตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์<strong> </strong>จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบการแสดงรำวงพื้นบ้านจังหวัดนครสวรรค์มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้แสดง 2) การแต่งกาย 3) เครื่องดนตรี 4) บทร้อง 5) การจัดแถวและทิศทางการเคลื่อนที่ 6) ท่ารำและกระบวนรำ และ 7) โอกาสที่แสดง ส่วนการถ่ายทอดรำวงพื้นบ้านจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มี 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00) และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และมากเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านผลที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.44) 2) ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.32) 3) ด้านผู้ถ่ายทอด/ผู้รับการถ่ายทอดอยู่ในระดับมาก ( = 4.13) 4) ด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก ( = 3.56) และ 5) ด้านวิธีการถ่ายทอดอยู่ในระดับมาก ( = 3.54)</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>รำวงพื้นบ้าน จังหวัดนครสวรรค์ ; การถ่ายทอด</p> <p> </p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This study is descriptive research with objectives 1) to examine backgrounds and components of local dancing in Nakhonsawan Province and 2) to explore process of transferring local dancing in Nakhonsawan Province. The study was conducted with 390 community leaders, village scholars, performers and villagers engaging in activities in relation to local dancing in Khaothong Sub-district, Phayuhakhiri District, Krokphra Sub-district, Krokphra District and Phranon Sub-district, Mueang District, Nakhonsawan Province. The research instrument was a questionnaire and statistics used for data analysis included percentage (%), mean () , standard deviation (S.D) and content analysis.</p> <p>The findings reveal that components of local dancing in Nakhonsawan Province contain 7 items including 1) performers, 2) costume, 3) music instruments, 4) lyrics, 5) alignment and movement direction, 6) dance posture and processing and 7) opportunity. Transferring local dance in Nakhonsawan Province consisted of 5 aspects and they generally were at high level (= 4.00). When considered by aspects, they could be arranged in following orders, 1) result at highest level (= 4.44), 2) content at highest level (= 4.32), 3) transferor/ transferee at high level (= 4.13), 4) evaluation at high level (= 3.56) and 5) transferring method at high level (= 3.54).</p> <p><strong>Keyword:</strong> local dancing, Nakhonsawan Province, Transferring</p>สุรีรัตน์ จีนพงษ์
Copyright (c)
2019-01-152019-01-15222115132