ความเปลี่ยนแปลงที่ส่งอิทธิพลต่ออัตลักษณ์การแสดงเพลงโคราช The Factors Influence the Changes in Identity of Pleng Korat Performance
Abstract
บทคัดย่อ ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 ร่วมกับสมาคมเพลงโคราชในการส่งเสริมและอนุรักษ์ รวมถึงการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดมาตรฐานท่ารำพื้นฐานและสร้างสรรค์กลอนเพลงท่ารำพื้นฐานสำหรับเพลงโคราช พบว่า การแสดงเพลงโคราชมีรูปแบบการแสดงที่มีอัตลักษณ์เฉพาะในด้านการใช้ภาษาโคราชและไม่มีดนตรีประกอบ ปัจจุบันค่านิยมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยส่งผลให้เกิดการผสมผสานระหว่างรูปแบบการแสดงจากวัฒนธรรมภายนอกและรูปแบบการแสดงของวัฒนธรรมดั้งเดิม การแสดงเพลงโคราชจึงเกิดการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปหลากหลายรูปแบบ จากเดิมที่ไม่มีดนตรีประกอบจนกระทั่งเกิดการนำ อัตลักษณ์ทางภาษา สำเนียง และการขับร้องเข้ามาสู่ธุรกิจบันเทิง สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน จนไม่ทราบว่าสิ่งใดใช่หรือสิ่งใดมิใช่การแสดงเพลงโคราช หรืออาจปรับเปลี่ยนจนหลงลืมการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ ละทิ้งรากเหง้าของตน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดั้งเดิมก็จะสูญสิ้นไปในที่สุด บทความนี้จึงต้องการนำเสนอมุมมองของผู้เขียนที่เกิดจากการดำเนินงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในอัตลักษณ์และความเปลี่ยนแปลงของการแสดงเพลงโคราชคำสำคัญ : เพลงโคราช ; การแสดงเพลงโคราช Abstract Through operation of the activity since 2010 with cooperation of Pleang Korat Society in promoting and preserving – including study investigation, participatory workshop to determine the standard dance posture and creating standard dance posture song lyrics for Pleng Korat, it was found that Pleng Korat performance has its own identity particulary the language used in the performance and no music played along. Currently, the changing values due to changing era had an effect on mixing between forms of performances from outer cultures and performances of original culture. Pleng Korat performance had developed and changed into several forms. Originally, there was no music played along and then the identity of language, dialect, and singing were brought to entertainment business. These can mislead so it was confusing to determine whether which was or which was not Pleang Korat, or the changing can be too far that preservation, inheriting, promoting can be forgotten and the root of culture can be ignored. Then, the original cultural intellectual heritage can gradually be vanished. This article so aimed to present the writer’s perspective gained from working to promote knowledge and understanding in the identity and changes of Pleng Korat’s performance.Keywords : Korat Song ; Pleng Korat performanceDownloads
Published
2016-07-01
Issue
Section
Articles