ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาของไทย The shortage of lecturer in higher education of Thailand

Authors

  • Sitsake Yanderm

Abstract

บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหาและนำเสนอแนวทางออกของการขาดแคลนอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาของไทย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาการขาดแคลนอาจารย์มีทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณพบว่า ด้วยนโยบายที่จำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐ และการขยายโอกาสทางการศึกษา รวมถึงวิสัยทัศน์ประเทศไทย (Vision 2020) ส่วนในเชิงคุณภาพพบว่า การทำวิจัยยังไม่เป็นวิถีชีวิตของอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์มีคุณวุฒิปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และระบบการบริหารจัดการที่ไม่สามารถนำคนมีความรู้ความสามารถมาแป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้ สำหรับแนวทางออกของปัญหาพบว่า ในเชิงปริมาณ รัฐควรคืนอัตราเกษียณและเกษียณก่อนกำหนดแก่สถาบันการศึกษา มีการวางแผนการผลิตและพัฒนาอาจารย์อย่างแป็นระบบให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของสังคม สำหรับในเชิงคุณภาพ ต้องบริหารจัดการตั้งแต่การบ่มเพาะอาจารย์ในช่วงต้นของการทำงาน ช่วงการทำงาน ช่วงเป็นผู้สูงด้วยความรู้และประสบการณ์ และการเป็นพลังทางความคิดหลังเกษียณแก่อาจารย์ที่เข้าทำงานใหม่คำสำคัญ: การขาดแคลน; อาจารย์; ระดับอุดมศึกษาAbstract In this article focus on the shortage of lecturer in higher education of Thailand. The result of the study is in both quantitative and qualitative. In quantitative found the policies that limit the power of government and the opportunities in Education including Thailand Vision 2020. The qualitative found that not many teachers in higher education having Ph.D. and academic position. Due to the lack of appropriate management, we lost many capable lecturer in the higher education. The guideline of this issue is that, in quantitative matter, the government policies should be stable and return the retired positions back to the institution and also having an incentive developing plan in the new lecturer. In qualitative found that the new lecturer need to have an opportunity to work and advice from the older.Keyword: Shortage; Lecturer; Higher Education

Downloads

Published

2016-07-01