The Attitude toward Instruction of Music Appreciation Subject of Srinakharinwirot University Undergraduate
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิชาสังคีตนิยมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิชาสังคีตนิยม ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4 ด้านคือ ด้านการวางแผนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสังคีตนิยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test และ 0ne - Way ANOVAผลการวิจัยพบว่า1. ทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิชาสังคีตนิยมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอน เกี่ยวกับการมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอน มีทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านการวางแผนการสอน เกี่ยวกับการมีสื่อการสอนที่ทันสมัยและสอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน มีทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน เกี่ยวกับการใช้เอกสารและสื่อการสอนเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน มีทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ด้านการวัดและประเมินผล เกี่ยวกับงานที่มอบหมายมีความชัดเจน และให้เวลาในการทำเหมาะสม มีทัศนคติอยู่ในระดับมาก2. จากการเปรียบเทียบ เพศ เกรดเฉลี่ยสะสม ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่สังกัด พบว่านิสิตที่มีเพศ เกรดเฉลี่ยสะสม แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการเรียนการสอน ด้านการวางแผนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอน ไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05นิสิตที่สังกัดคณะที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการเรียนการสอน ด้านการวางแผนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอน แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05นิสิตที่มีชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการเรียนการสอน ด้านการวางแผนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านคุณลักษณะอาจารย์ผู้สอน แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนด้านการวัดและประเมินผล พบว่า มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05Abstract The objective of the research was to peruse about the attitude toward instruction of music appreciation subject of Srinakharinwirot University undergraduates in four aspects: teaching preparation, instruction activities, assessment of education, and the instructor’s qualification. This was a survey research studying on 135 students who enroll on Music Appreciation subject in the second semester of__ 2008. The material used for the studies was questionnaire. Statistic was evaluated by percent, average, standard deviation, t - test, and One - Way ANOVA.Research’s Results1. In majority, the attitude toward instruction of music appreciation subject of Srinakharinwirot University undergraduate was good in every aspect. The research’s results arranged in order from excellent to poor were 1) attitude toward the instructor’s qualification, the instructor’s knowledge of the subject, was excellent 2) attitude toward teaching preparation, using modern and appropriate teaching material, was excellent 3) attitude toward instruction activities, such as using suitable text and teaching material, was excellent 4) attitude toward assessment of education, such as distinct assignment and assign proper time to finish the assignments, was good.2. The research’s results in comparing between genders, GPA, year of students, and faculties revealed that:The difference of genders and GPA did not affect the attitude toward teaching preparation, instruction activities, assessment of education, and the instructor’s qualification. The attitude was not significant different at the level 0.05.The differences of faculty affected the attitude toward teaching preparation, instruction activities, assessment of education, and the instructor’s qualification. The attitude was significant different at the level 0.05.The difference of year of students affected the attitude toward teaching preparation, instruction activities, and the instructor’s qualification. The attitude was significant different at the level 0.05. However, it did not affect the attitude toward assessment of education; significant different at the level 0.05.Downloads
Published
2011-10-11
Issue
Section
บทความวิจัย