A Comparative Study of the Spatial Ability Achievement of Early Childhood Children Between Pre and Post Learning by Creative Arts Instructional Package for Develop Spatial Activities
Abstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กระดับปฐมวัย ก่อน และหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 50 คนซึ่งได้จากการจับสลากมา 1 ห้องเรียนจาก 4 ห้องเรียน มาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาในการทดลองรวม 10 ครั้ง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ 1 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .84ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง แบบ One - Group Pretest - Posttest Design สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการทดลองสอบค่า t - test สำหรับDependent Samples ผลการวิจัย พบว่าความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อ พัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยรวมสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยด้านการจำแนกวัตถุคงที่ ด้านการหาความสัมพันธ์ของวัตถุ 2 สิ่ง หรือมากกว่า ด้านการจัดหมวดหมู่วัตถุ 2 - 3 มิติ ด้านการจินตนาการเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และด้านการรับรู้ลักษณะของวัตถุเมื่อมีการเคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนมุมมองของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01Abstract The purposes of the study were to study and compare spatial abilities of preschool Children, before and after learning by Creative Art Instructional Package for develop spatial activities. Subjects were fifty 5 - 6 year old kindergarten 3, student’s studying in the first semester, academic year 2008 at Srinakarinwirot University: Prasarnmit Demonstration School (Elementary).The experiment was carried out in 10 sessions within 10 weeks: 1 session per week and 50 minutes per session. The research instruments were Abilities Test for Preschool Children which has the reliability of .84 and Creative Art Instructional Package for developing spatial activities. The study employed was One - Group Pretest - Posttest Design. The statistic of t - test for dependent samples was used to analyze the data.The results shown that : Spatial abilities of Preschool children after experimental was at high level on all aspects. The perception of object after movement and different points of view was at high level, the discriminate of object, the ability of seeking the relationship of two or more objects and aspect of classification of two or more objects and the aspect of imagination of putting the component together were at the middle level. Spatial abilities of Preschool children after experimental was significantly higher at .01level.Downloads
Published
2011-10-11
Issue
Section
บทความวิจัย