การรำหน้าพาทย์เพลงตระโขนพระ : Traa Dance Patterns of the Male Characters in Khon.

Authors

  • จักราวุธ คงฟู

Keywords:

การรำ, หน้าพาทย์, ตระ, โขนพระ, Thai dance patterns, Traa, Khon male characters

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง การรำหน้าพาทย์เพลงตระโขนพระ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นมา กระบวนท่ารำและการนำความรู้ไปใช้ จากการค้นคว้าบันทึกทางเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การแสดงและการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีนาฏศิลป์ไทย เพื่ออธิบายถึงที่มาหน้าพาทย์เพลงตระที่ใช้สำหรับตัวละครในการแสดงโขนของตัวพระ ตั้งแต่การวิเคราะห์การบรรจุเพลงตระในบทสำหรับการแสดงในสมัยอยุธยา ตลอดเรื่อยมาตามยุคสมัยจนเข้ามาอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปี พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ หน้าพาทย์เพลงตระนิมิต ตระบองกัน      ตระนอน ตระบรรทมไพร ตระนารายณ์แปลง ตระเชิญ ตระสันนิบาต ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์  โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการรำจากรองศาตราจารย์ ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พบว่ากระบวนท่ารำหน้าพาทย์เพลงตระโขนพระมีความสำคัญในการพัฒนาทักษะการรำของผู้เรียน ได้แก่ การใช้กลวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายตามลักษณะของโขนพระ กระบวนท่ารำมาตรฐานที่ถูกจัดเรียงไล่ระดับจากระดับต่ำไปสูง และการฟังจังหวะหน้าทับตระ หน้าพาทย์เพลงตระโขนพระ ยังคงสืบทอดและอยู่ในหลักสูตรของผู้เรียนโขนพระในแต่ละระดับชั้น ให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปพัฒนาความสามารถและใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้ต่อไปคำสำคัญ: การรำ; หน้าพาทย์; ตระ; โขนพระAbstractThe main objective of this study, Traa Dance Patterns of the Male Characters in Khon, was to investigate the history of each dance pattern so that its precise details could be preserved and circulated among those who were interested in this art.  The research tools were literature review, observations and interviews with authorities on Thai classical music and dances so that they could provide detailed information about Traa dance patterns of the lead male characters in Khon.  Such information included the creation of the dance patterns during the Ayutthaya period, their development before they were taught in the College of Dramatic Arts in 1934 and until now.  The dance patterns included Traa Nimit, Traa Bong Kan, Traa Non, Traa Buntom Prai, Traa Narai Plang, Traa Choen, Traa Sannibat, and Traa Narai Buntom Sin.  When the researcher studied the dance patterns performed by Associate Professor Dr. Supachai Chansuwan, a national artist in performing arts, it is found that some Traa dance patterns play an important role in the development of the learners’ dance skills.  They are the body movement of the male characters, the standard dance patterns that began from the beginner level to the advanced level and the rhythm of Tap Traa and Traa dance patterns of Khon male charaters.  All of these have been taught in a school offering a course about dance patterns of Khon male characters.Keywords: Thai dance patterns; Traa; Khon male characters

Author Biography

จักราวุธ คงฟู

ภาควิชา นาฏยศิลป์ สาขาวิชา นาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยMr.Department: Dance Field of Study: Thai Dance Faculty of fine and Applied Arts Chulalongkorn University.

Downloads

Published

2018-07-11

Issue

Section

บทความวิจัย