การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : ACTIVITY LEARNING BY CONSTRUCTIONISM WITH CERAMICS FORMATION FOR HIGH SCHOOL STUDENTS
Keywords:
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน, การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง, การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา, การวิจัยกึ่งทดลอง, Activity Learning, Constructionism, Ceramics Forming, Quasi-ExperimentalAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องศิลป์ทั่วไป โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา แบบประเมินผลงานศิลปะ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบวัดความสามารถการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา หลังเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองภาพรวมอยู่ในระดับดีมากคำสำคัญ: การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน; การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง; การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา; การวิจัยกึ่งทดลองAbstractThis Quasi - Experimental Research aims 1) to study and to compare the academic proficiency of senior high school student before and after adopting constructionism in classroom lessons on forming ceramic products, and 2) to investigate the level of satisfaction regarding constructive lessons about forming ceramic products. In this study, ten students in the Matthayom Four, Art Program at Dipangkornwittayapat (Watnoinai) School, which is under Royal Patronage. The subjects were selected by a focused group and chosen by Purposive Sampling. In order to collect the data, the five lesson plans, a proficiency test on knowledge and understanding regarding the creation of ceramic products, a form for artistic assessment, the satisfaction survey form and a placement test of ability in terms of self-constructed knowledge. The findings of study revealed the Following 1) the results of the academic proficiency of the students after constructive lessons was statistically significant at 0.01, and 2) the satisfaction of The students with constructive lessons was at an 'Excellent' level.Keyword: Activity Learning; Constructionism; Ceramics Forming; Quasi-ExperimentalDownloads
Published
2018-07-11
Issue
Section
บทความวิจัย