การออกแบบสินค้าที่ระลึกพหุลักษณ์จากสปาและการนวดไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : The design of pluralistic souvenir products of Thai massage and spa for promoting health tourism

Authors

  • อรัญ วานิชกร
  • จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด
  • อังสุมาลิน จำนงชอบ
  • คุณัญญา ชาญวิถี

Keywords:

สินค้าที่ระลึก, พหุลักษณ์, สปา, การนวดไทย, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, souvenir, pluralistic, Thai massage, spa, health tourism

Abstract

การวิจัยเรื่องการออกแบบสินค้าที่ระลึกพหุลักษณ์จากสปาและการนวดไทยเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาพหุลักษณ์ปาและการนวดไทยในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยจากนั้นออกแบบและจัดทำต้นแบบสินค้าที่ระลึกจากพหุลักษณ์ปาและการนวดไทยให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อสื่อความหมายเชิงคุณค่าของพหุลักษณ์ดังกล่าว มีกระบวนการเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ องค์ความรู้และพหุลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลปฐมภูมิสังเกตการณ์สถานการณ์สปาและการนวดไทย วิเคราะห์แยกแยะจัดกลุ่มพหุลักษณ์เพื่อสร้างข้อกำหนดการออกแบบ สุดท้ายออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกพร้อมสร้างต้นแบบ ผลการวิจัยได้องค์ความรู้ด้านพหุลักษณ์ในบริบทที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1.พหุลักษณ์การแพทย์แผนไทยประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรม คัดเลือกแบ่งย่อยออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์เวชกรรมไทยเกี่ยวข้องกับการรู้สาเหตุแห่งโรคหรือสมุฏิฐานแห่งโรค องค์ประกอบแห่งธาตุทั้งสี่ของมนุษย์เช่น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มีความเป็นนามธรรมสูงจึงต้องใช้สัญลักษณ์ต่างๆช่วย เช่น เฉลว, อุณาโลม อัตลักษณ์เภสัชกรรมไทยมีความเป็นรูปธรรม เช่น เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช ใช้สัญลักษณ์หม้อยาไทยปักเฉลว และรูปร่างใบไม้สมุนไพร อัตลักษณ์ผดุงครรภ์ไทย มีการผสมผสานระหว่างรูปธรรมและนามธรรม เช่น มารดาและทารก หม้อเกลือ การให้ความอบอุ่น ปกป้อง อัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยมีความเป็นรูปธรรมเช่น ท่านวด คอ บ่า ไหล่ ลูกประคบและจิตรกรรมจุดนวดในวัดโพธิ์ ภาพฤๅษีดัดตน (ท่ากายบริหารด้วยตนเอง) และ 2.พหุลักษณ์ท้องถิ่นไทยในแต่ละภูมิภาค โดยคัดเลือกจากอัตลักษณ์ที่มีความโดดเด่น และมีศักยภาพในการนำไปใช้ต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของภาคเหนือดังนี้ การย่ำขาง การตอกเส้น การเช็ดแหก และด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นคือศิลปวัฒนธรรมล้านนา อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือดังนี้ การผดุงครรภ์ไทย การอยู่กรรม และด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นคือภาพเขียนสีโบราณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภาคกลาง เขาฤๅษีดัดตน ภาพจารึกฝาผนังแสดงจุดนวด ภูมิปัญญาการนวดไทย และด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นคือจิตรกรรมไทยแบบประเพณี อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภาคตะวันออก การผสมผสานตะวันตก และท่านวดไทยสอดคล้องกับภาคกลาง และด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นคือ หัตกรรมการจักสาน อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภาคใต้ นวดไทยมโนห์รา นวดเปลือกหอย และด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ทะเลอันดามัน จากนั้นนำเสนอแนวคิดการออกแบบตราสัญลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในแต่ละภูมิภาค และนำเสนอแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่มีองค์ประกอบตราสัญลักษณ์ (LOGO)  ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักไม่มาก (Compact) มีความเป็นต้นแบบ (Original Design) ประโยชน์ใช้สอยที่ร่วมสมัย (Functional)คำสำคัญ: สินค้าที่ระลึก พหุลักษณ์ สปา การนวดไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพAbstractThe design of pluralistic souvenir products of Thai massage and spa for promoting health tourism was studied. The objectives of this study were to study the pluralities of Thai massage and spa in each region of Thailand. Then the souvenir products were designed and the prototype was prepared from the pluralities of Thai massage and spa in accordance with health tourism to convey the value of pluralities. The process started with collecting secondary data, knowledge and related pluralities, primary data and observation of Thai spa and massage. After that, the pluralities were analyzed and classified in order to establish the design specification. Finally, the souvenir products were designed and the prototype was prepared.The results provided the knowledge on pluralities in relevant context which could be divided into 2 parts as 1) pluralities of Thai traditional medicine consisted of concrete and abstract which selected from 4 aspects including Thai medicine identity related to causes of disease or hypothesis of disease, the four elements of human such as earth, water, air and fire which were highly abstract and required symbols including spur (Chalew) and infantry cap insignia (Unalom). The identity of Thai pharmacy was tangible such as pharmacological object, pharmaceutical properties and group of materia medica by using Thai medicine pot with spur and herbal leaf shape. For the identity of Thai midwife, there was a combination of concrete and abstract such as mother and baby, salt pot which represented warmth and protection. The identity of Thai massage were concrete such as massage poses for neck, chest and shoulder, Thai herbal hot compress ball and paintings of massage spots in Wat Pho, Thai hermit exercises. 2) The pluralities of local area in each region which were selected from distinctive identity with the potential to apply in designing souvenir products for health tourism. These included the identity of health tourism in Northern Thailand such as Yam-Kang, tapping line or hammer massage and Ched-Haek which the distinctive image was Lanna arts and culture. The identity of health tourism in Northeast Thailand included Thai midwife, interdiction which the distinctive image was ancient paintings at Pha Taem National Park. The identity of health tourism in Central Thailand included hermit traditional exercise, inscription on wall showing massage points and wisdom of Thai massage which the distinctive was Thai traditional painting. The identity of health tourism in Eastern Thailand was mixed with the Western Thailand and the massage poses were in accordance with Central Thailand which the distinctive image was handicraft basketwork. The identity of health tourism in Southern Thailand included Manora massage and hot seashell massage which the distinctive image was Andaman Sea. After that, the designing concept of health tourism logo in each region was proposed and the designing concept of souvenir products which were compact and functional with the original design and logo was proposed.Key word: souvenir, pluralistic, Thai massage, spa, health tourism

Author Biography

อรัญ วานิชกร

สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDEPARTMENT OF VISUAL DESIGN, FACULTY OF FINE ARTS, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY

Downloads

Published

2018-07-11

Issue

Section

บทความวิจัย