แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย

Authors

  • รุ่งนภา (Rungnapa) ตั้งจิตรเจริญกุล (Tangchitcharoenkhul) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วิชุดา (Wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)
  • สุรีพร (Sureeporn) อนุศาสนนันท์ (Anusasananan)
  • พิกุล (Pikun) เอกวรางกูร (Ekwarangkoon)
  • จันทร์เพ็ญ (Janpen) ตั้งจิตรเจริญกุล (Tangjitjaroenkun) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

Abstract

Guideline for Desired Morality and Ethics Cultivation of Thai Higher Education StudentsThe purposes of this research are 1) to study and formulate the conceptual framework pertaining to indicators and guidelines for desired morality and ethics cultivation of higher education students corresponding to Thai higher education context and to examine the indicators and guidelines for evaluating desired morality and ethics cultivation, 2) to evaluate desired morality and ethics cultivation of higher education students, 3) to evaluate guidelines for desired morality and ethics cultivation of higher education students corresponding to Thai higher education, 4) to study factors affecting desired morality and ethics cultivation of Thai higher education students. The research findings were 1) Seventy eight related literatures were reviewed for synthesis the conceptual framework pertaining to indicators and guidelines for desired morality and ethics cultivation of Thai higher education students and 6 experts and 120 stakeholders helped verifying the content validity, appropriateness, feasibility and utility. They were 2 components of desired morality and ethics cultivation of higher education students 1.1) moral and ethic to themselves composed of 7 sub-indicators 1.2) moral and ethic to others composed of composed of 4 sub-indicators, and guidelines for desired morality and ethics cultivation of higher education students corresponding to Thai higher education composed of 7 components: morality and ethics cultivation of higher education students through educational institutions, family, media/press, religion/ideology/beliefs, government policy, faith persons and community 2) The result of current and goal evaluation of desired morality and ethics cultivation of Thai higher education students evaluated from 4 groups of stakeholders (students, faculty members, administrators, parents) were significant different between current and goal evaluation of all desired morality and ethics cultivation of Thai higher education students. 3) The guidelines for desired morality and ethics cultivation of higher education students corresponding to Thai higher education results using Data Envelopment Analysis found that education institutes ought to increase morality and ethics cultivation of higher education students through educational institutions, family, media/press, religion/ideology/beliefs, government policy, faith persons and community, 3-5 components by either increasing (8.31–56.26%). 4) The result of multi-level analysis indicated that factors explaining the desired morality and ethics cultivation of Thai higher education students were morality and ethics participation of students, morality and ethics cultivation of higher education students through educational institutions and family.Keywords: guidelines, desired morality and ethics, morality and ethics cultivation, higher education studentsงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อกำหนดกรอบของตัวบ่งชี้และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย และตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ 2) เพื่อประเมินคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 3) เพื่อประเมินแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการสังเคราะห์จากเอกสารของประเทศไทยและต่างประเทศจำนวน 78 ฉบับ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย และผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน และจากการสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 120 คน ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 1.1) ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ย่อย และ 1.2) ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมต่อผู้อื่น ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ย่อย ส่วนแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมพบว่า ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือผ่านทางสถาบันการศึกษา ครอบครัว สถาบันศาสนา/ลัทธิ/ความเชื่อ การกำหนดนโยบายจากภาครัฐ สื่อมวลชน ชุมชน และบุคคลที่เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา 2) ผลการประเมินเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและเป้าหมายของคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินทั้ง 4 กลุ่ม (ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา ผู้ปกครอง) พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ 3) ผลประเมินแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล พบว่า สถาบันการศึกษาต้องวางนโยบายเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษา ด้วยการปรับเพิ่มการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ผ่านสถาบันการศึกษา ครอบครัว สื่อ/สื่อมวลชน สถาบันศาสนา/ลัทธิ/ความเชื่อ การกำหนดนโยบายจากภาครัฐ บุคคลที่เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา และชุมชน โดยแต่ละสถาบันการศึกษาต้องปรับเพิ่ม 3–5 องค์ประกอบ (8.31–56.26%) และ 4) ผลการวิเคราะห์พหุระดับ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย คือ การเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านสถาบันการศึกษา และการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านครอบครัวคำสำคัญ: แนวทาง คุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Author Biographies

รุ่งนภา (Rungnapa) ตั้งจิตรเจริญกุล (Tangchitcharoenkhul), มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วิชุดา (Wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ

สุรีพร (Sureeporn) อนุศาสนนันท์ (Anusasananan)

มหาวิทยาลัยบูรพา

พิกุล (Pikun) เอกวรางกูร (Ekwarangkoon)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

Published

2017-03-30

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์