การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับอาเซียน สำหรับบุคลากรภาครัฐในส่วนภูมิภาค

Authors

  • อังศินันท์ (Ungsinun) อินทรกำแหง (Intarakamhang) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

Abstract

Research and Development of the Training Curriculums about Knowledge of ASEAN for the Provincial Government PersonnelAbstractThe purposes of the study were to 1) develop a training curriculum on ASEAN for provincial government personnel and 2) study the curriculum effectiveness to develop the knowledge of government personnel, a positive attitude towards ASEAN, and behavioral function in ASEAN. The research process was divided into 2 phases. First, need assessment for training was surveyed by using questionnaires that were developed in cooperation with five experts. The questionnaires were given to a group of government personnel that were derived from a quota sampling from 76 provinces with 35-45 people for each province, so the total was 3,200 people. Next was the designing of the structure and content of the seven training curriculum for a group government personnel in Professional Level or higher from all regions with a total was 1,277 people. Interview forms, needs questionnaires as well as knowledge, attitudes and behavior questionnaires were used as tools. These data were analyzed with descriptive statistics; priority needs index, t-test statistics and analysis of content. The result found that a three-day training course was created with seven curriculums for which the content was different according to each province or part. After training, the personnel had significantly developed knowledge in the context of ASEAN (p < 0.05). The follow-up showed that the participants had a positive attitude towards ASEAN and increased behavioral function in ASEAN statistically significantly (p <0.05) when compared to pre-training.Keywords: the research and development, ASEAN, provincial government personnel, the training curriculums, priority needs indexบทคัดย่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับอาเซียนของบุคลากรภาครัฐในส่วนภูมิภาค และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรในการพัฒนาความรู้อาเซียนของบุคลากรภาครัฐ ทัศนคติที่ดีต่ออาเซียน และพฤติกรรมในการทำงานอาเซียน กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยเริ่มจากระยะแรกสำรวจหาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ5 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามโควตาใน 76 จังหวัด ๆ ละ 35-45 คน รวมทั้งสิ้น 3,200 คน และในระยะการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจำนวน 7 หลักสูตรโดยมีกลุ่มที่เข้าอบรม ได้แก่ บุคลากรภาครัฐระดับชำนาญการขึ้นไปทุกภูมิภาครวมจำนวน 1,277 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น สถิติค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการสร้างหลักสูตรทำให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมเป็นเวลา 3 วัน มีจำนวน 7 หลักสูตรที่มีเนื้อหาบางส่วนแตกต่างกันตามพื้นที่ภูมิภาคในกลุ่มจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแนวชายแดน ภายหลังการฝึกอบรม พบว่า บุคลากรภาครัฐที่เข้าอบรมมีความรู้ที่จำเป็นในบริบทอาเซียนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และในระยะติดตาม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีระดับทัศนคติที่ดีต่ออาเซียนและพฤติกรรมการทำงานด้านอาเซียนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) เมื่อเทียบกับก่อนการอบรมคำสำคัญ: การวิจัยและพัฒนา อาเซียน บุคลากรภาครัฐในส่วนภูมิภาค หลักสูตรฝึกอบรม ดัชนีความต้องการจำเป็นปริทรรศน์

Author Biography

อังศินันท์ (Ungsinun) อินทรกำแหง (Intarakamhang), สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

Downloads

Published

2017-03-30

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์