ปัจจัยจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการทางการเงิน ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
Abstract
ปัจจัยจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการทางการเงินของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครบทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการทางการเงินของข้าราชการครู โดยรวมและรายด้าน และ 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของกลุ่มปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการทางการเงินของข้าราชการครู ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่มีชีวสังคมต่างกันกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 300 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน 2 ขนาด เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าอยู่ระหว่าง .77ถึง .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นผลการวิจัยพบว่า1) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความมีระเบียบวินัยและการสนับสนุนทางสังคมทางการเงินที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการทางการเงินของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ 1.1) โดยรวมพบในกลุ่มย่อย 3กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตำแหน่งครู 2) กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และ 3) กลุ่มมีบุคคลพึ่งพิง 1.2) ด้านการจัดหาเงินพบในกลุ่มย่อย1 กลุ่ม คือ กลุ่มมีบุคคลพึ่งพิงและ 1.3) ด้านการใช้จ่ายเงินพบในกลุ่มย่อย 1 กลุ่ม คือ กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มรวม2) กลุ่มปัจจัยจิตลักษณะ (ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และความมีระเบียบวินัย) และกลุ่มปัจจัยสถานการณ์ทางสังคม (การรับรู้ข่าวสารทางการเงินการสนับสนุนทางสังคมทางการเงิน และการมีแบบอย่างที่ดีทางการเงิน) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มรวมได้ร้อยละ37.20และกลุ่มย่อย คือระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีได้มากที่สุดถึงร้อยละ 42.0 โดยตัวทำนายที่สำคัญคือ การรับรู้ข่าวสารทางการเงินคำสำคัญ:การจัดการทางการเงิน ความมีระเบียบวินัย การสนับสนุนทางสังคมทางการเงิน การรับรู้ข่าวสารทางการเงินPsychological and Social Situational Factors Related to the Money Management Behaviors of Government Teachers in Bangkok Primary Educational Service Area OfficeAbstractThe objectives of this study were: 1) to study the interaction between psychological and social situational factors that effected to behavior in money management, and 2) to study the predictability of factors that have effected to money management behavior of government teachers in both overall and separate aspects from a different bio-society. The samples consisted of three hundred teachers from primary schools under the Authority of the Bangkok Primary Educational Service Area Office by using proportional stratified random sampling of 2 school sizes. The data collection has summated rating scales with six levels that have reliability in alpha coefficients at between .77 to .96. The statistics for analysis were descriptive statistics, Two-Way ANOVA, and Hierarchical Multiple Regression Analysis. The research results found that 1) the interaction between having aspects of discipline regarding and social support effected behavior in money management of government teachers with significance in statistic at level .05 were 1.1) in overall were found in three separate groups (teachers, persons who have educational level higher than bachelor degree, and groups which have others depend on) 1.2) the financial procurement in the separate group was groups which have others depend on and 1.3) the financial expenditure in the separate groups were persons who have educational level higher than bachelor degree. There was no difference with significance in statistic of overall groups. 2) the psychological factor groups (future orientation and self-control and having aspects of discipline) and groups of social situational factors (perceiving on financial information, supporting in financial society and having good model in finance), those could sharing predict the behavior in money management with significance in statistic at level .05. Overall groups had percentage at 37.20. Separate groups were persons who have educational level higher than bachelor degree, had the highest in percentage at 42.0. The vital predictor was perception of financial information.Keywords: money management, having aspects of discipline, social and money support, perception of financial information.Downloads
Published
2017-03-30
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์