ชลาลัย (Chalalai) แต้ศิลปสาธิต (Taesilapasathit)
Thammasat University
พัฒนกิจ (Phatthanakit) ชอบทำกิจ (Chobthamkit)
Thammasat University
Abstract
Death Penalty in the Psychological and Behavioral Science PerspectivesLegal law is a type of social norm, which is tremendously important, because it encourages the feeling of safety in society. However, legal process may sometimes lead to wrong verdicts. In case of “scapegoats”, the penalty may cause extreme loss to the scapegoats and their families. Some of them may lose their lives during the punishment due to their physical conditions or death penalty. Although death penalty has long been enforced as the most severe punishment in several countries, this execution is surrounded by controversy and criticism. This article proposes a variety of related psychological knowledge, for example; operant conditioning, social cognitive theory, belief in a just world, forensic psychology, theory of aggression, and the other notions of behavioral science perspective of human nature, in order to explain why the death penalty may not be the best practical method for socialization process, and discuss the extent of the myth and reality of the effectiveness of the death penalty, and its existence.Keywords: law, death penalty, psychology, behavioral science, socializationบทคัดย่อกฎหมายคือบรรทัดฐานทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการส่งเสริมความรู้สึกปลอดภัยในสังคม อย่างไรก็ตาม บางครั้งกระบวนการทางกฎหมายอาจนำไปสู่การตัดสินที่ผิดพลาด อย่างในกรณีของการ “จับแพะ” นั้น การลงโทษด้วยกฎหมายอาจเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักต่อบุคคลและครอบครัวเป็นอย่างมาก บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตขณะรับโทษซึ่งอาจเกิดจากสภาวะทางร่างกายของตัวผู้ถูกคุมขัง หรือจากการได้รับโทษประหารชีวิต ถึงแม้ว่าโทษประหารชีวิตมีการบังคับใช้อย่างยาวนานว่าเป็นบทลงโทษสูงสุดในหลายประเทศ บทลงโทษนี้กลับได้รับการโต้แย้งและการวิพากษ์วิจารณ์ในรอบด้าน บทความนี้จึงได้เสนอองค์ความรู้ทางจิตวิทยาจากหลากหลายมุมมอง อาทิ การเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ, การเรียนรู้ทางสังคม, ความเชื่อว่าโลกนี้ยุติธรรม, นิติจิตวิทยา, ทฤษฎีความก้าวร้าว รวมถึงแนวคิดทางด้านพฤติกรรมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายว่าเพราะเหตุใดโทษประหารชีวิตอาจไม่ใช่วิธีการในเชิงปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับกระบวนการสังคมประกิต และอภิปรายความเชื่อและความเป็นจริงของประสิทธิผล และการคงอยู่ของโทษประหารชีวิตคำสำคัญ: กฎหมาย; โทษประหารชีวิต; จิตวิทยา; พฤติกรรมศาสตร์; กระบวนการสังคมประกิต
Author Biography
พัฒนกิจ (Phatthanakit) ชอบทำกิจ (Chobthamkit), Thammasat University
Division of Psychology, Department of Psychology, Library Science and Geography, Faculty of Liberal Arts