ปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุตอนต้นจังหวัดขอนแก่น
Abstract
Causal Factors of health behaviors of the young-old in Khon Kaen Sirindhorn College of Public Health Khon KaenThe objectives of this research were to study and analyze the causal factors through the structural equation model towards health behaviors of the older. The sample were 450 aged 60 to 69 years living in Khon Kaen Province and were taken by using multistage random sampling. Data were collected by employing questionnaires, consisting of five parts with seven numerical scales (IOC = .9301and reliability coefficient = .884). The developed causal models were examined by applying AMOS. The results revealed that the factors related to Future Orientation and Social Support had direct effect on the health behaviors (r = .856 and .146 respectively). The factor linked to Locus of control had indirect effect on the health behaviors through Social Support and/or Future Orientation. It appeared that the developed causal model of health behaviors among older adult was in harmony with the empirical data after adjusting model resulting in satisfactory level of the goodness of fitting indices with CMIN/DF = 1.88, SRMR = .076, GFI = .967, AGFI = .945, CFI = .908 and RMSEA = .044. It could be concluded that all of causal variables in this model could explain the variance of the young-old’s health behaviors approximately 84.8%.Keywords: health behavior, the young-old, causal factor, future orientation, locus of control social supportบทคัดย่อการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม 5 ส่วน ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่า IOC เท่ากับ .9301 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.884 และวิเคราะห์โมเดลเชิงเหตุด้วยโปรแกรม AMOS ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยลักษณะมุ่งอนาคตและปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพเท่ากับ .86 และ .15 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยความเชื่ออำนาจแห่งตนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมสุขภาพ โดยผ่านปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม และ/หรือปัจจัยลักษณะมุ่งอนาคต ส่วนโมเดลเชิงเหตุของพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/DF = 1.88, SRMR = .076, GFI = .967, AGFI = .945,CFI = .908 และ RMSEA = .044) ปัจจัยในโมเดลร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 84.8คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ ผู้สูงอายุตอนต้น ปัจจัยเชิงเหตุลักษณะมุ่งอนาคต ความเชื่ออำนาจแห่งตนการสนับสนุนทางสังคมDownloads
Published
2017-03-30
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์