การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา ในการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และลดเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม ของวัยรุ่นตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชัญญา (Chanya) ลี้ศัตรูพ่าย (Leesattrupai) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว
  • ชาญ (Charn) รัตนะพิสิฐ (Rattanapisit)

Abstract

Kalayana Dialogue Communication Training Program for Bangkok Late Teens: Enhancement of Human relations and Self-esteem and Reduction of PrejudiceThis research examines and develops a training program for Kalayana Dialogue Communication Skill to enhance human relations and self-esteem and to reduce prejudice in late teens in Bangkok. The samples are 90 high school students from a high school in the Bangkok Metropolitan area. Research tools include 1) a training material for Kalayana Dialogue Communication Skill 2) Kalayana Dialogue Communication Skill Scale 3) Prejudice Scale 4) a questionnaire on relationship with friends and 5) a scale of self-esteem. The subjects are divided into three groups. Target group A received two periods of Kalayana Dialogue Communication Skill training program (study of content and practice as well as application in real-life situations). Target group B only received the first period of training program (study of content and practice). Control group received no training. The results reveal that 1) those who have low prejudice show significantly higher human relations and higher self-esteem than those who have high prejudice 2) after the Kalayana Dialogue Communication training program, the mean score of collective obsessional behavior of Group A highest decreased. Those of group B had the second highest decrease. These changes are significantly different from the score before the training. The control group shows no difference 3) after the training program, target group A significantly shows the highest increase in the average of Kalayana Dialogue Communication Skill, human relations and self-esteem, followed by target group B. Control group shows no significant difference in Kalayana Dialogue Communication Skill, human relations and self-esteem before and after the training program.บทคัดย่อการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา ในการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และลดเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม ของวัยรุ่นตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา มาตรวัดทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา มาตรวัดเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม แบบสอบถามมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อน และมาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยแบ่งเงื่อนไขการวิจัยออกเป็น3 เงื่อนไข คือ กลุ่มทดลอง A ที่เข้ารับการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนาทั้ง 2 ระยะ (เรียนรู้เนื้อหาและทดลองปฏิบัติ รวมถึงได้ใช้ในสถานการณ์จริง) กลุ่มทดลอง B ที่เข้ารับการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนาเพียงระยะแรก (ได้เรียนรู้เนื้อหาและทดลองปฏิบัติเท่านั้น) และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับการฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ที่มีเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่มต่ำมีค่าเฉลี่ยของมนุษยสัมพันธ์และการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าผู้ที่มีเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่มสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ภายหลังเข้ารับการฝึกอบรมการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา กลุ่มทดลอง A มีระดับค่าเฉลี่ยของ เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่มลดลงมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มทดลอง B แตกต่างจากก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มทดลองมีระดับค่าเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง 3) ภายหลังการฝึกอบรมรูปแบบการฝึกอบรมของกลุ่มทดลอง Aมีประสิทธิภาพในการทำให้ระดับของค่าเฉลี่ยของทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา มนุษยสัมพันธ์และการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รองลงมา คือ กลุ่มทดลอง B ส่วนกลุ่มควบคุมมีระดับทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา มนุษยสัมพันธ์ และการเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างจากก่อนเข้ารับการทดลองเพื่อฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม ทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา มนุษยสัมพันธ์การเห็นคุณค่าในตนเอง ชุดฝึกอบรม

Author Biographies

ชัญญา (Chanya) ลี้ศัตรูพ่าย (Leesattrupai), สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโทรศัพท์: 02-2601770-7 ต่อ 6236

ชาญ (Charn) รัตนะพิสิฐ (Rattanapisit)

อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโทรศัพท์: 02-2601770-7 ต่อ 6236

Downloads

Published

2017-03-30

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์