กระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรง
Abstract
Perspective Transformation Process for Enhancing Authentic Self-Esteem of Male Violent Juvenile DelinquentsResearchers examined the evidence for a complex relationship between self-esteem and violent behavior among children and adolescents, and concluded that high, rather than low self-esteem, was in fact more plausibly linked to violence (Boden et al., 2007). As a result, enhancing the youth's self-image may be associated with inflated self-esteem or self-esteem blown to narcissistic proportions (Ang, 2005). Learning how to enhance secure high self-esteem or authentic self-esteem is the key to solve this problem. This research purpose was to study the perspective transformation process for enhancing authentic self-esteem of male violent juvenile delinquents. This study was a mixed methods research by using the Multidimensional Self-Esteem Inventory (MSEI) and in-depth interview. The result showed that there were four stages of the perspective transformation process; the first stage was “Distinction”, the second stage was “Intention”, the third stage was “Assertiveness” and the last stage was “Development of perspectives”. In conclusion, the perspective transformation process for enhancing authentic self-esteem is an essential part in fostering youths to learn about how to understand and change the self, however, it needs to make an effective implementation.Keywords: authentic self-esteem, transformative learning, perspective transformationบทคัดย่อการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง คือ การเห็นคุณค่าในตนเองสูงอย่างมั่นคงและปกป้องตนเองต่ำ นักวิจัยได้ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมความรุนแรงในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นและพบว่า เยาวชนที่กระทำผิดคดีความรุนแรงส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง การเรียนรู้วิธีเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง คือ กุญแจสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาวัยรุ่นดังกล่าว วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรง การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีโดยการใช้แบบวัด Multidimensional Self-Esteem Inventory (MSEI) กับกลุ่มเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 343 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การแยกแยะ ขั้นที่ 2 การสร้างเจตนารมณ์ ขั้นที่ 3 การกล้าเผชิญ และขั้นที่ 4การพัฒนาปริทรรศน์ กล่าวโดยสรุป คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมเยาวชนให้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงตัวตน อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องทำให้เกิดการนำไปใช้ที่มีประสิทธิผลด้วยคำสำคัญ: การเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์Downloads
Published
2017-03-30
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์