การเตรียมพร้อมสู่การทำงานอาสาและการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรในมหาวิทยาลัย Readiness Preparation to Volunteer Working and Causal Relationship Model Development of Self- Wellness Manageme

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกำแหง สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

Abstract

The volunteer work  is not for a living. But it is proud, honor  and dignity which impact a healthy and decreased depression for a better quality of life after retirement. The purposes of this mixed methods research were 1) to study the readiness preparation to volunteer working, and 2) to develop and compare the causal relationship models of self- wellness management related to volunteer working between the faculty group and academic supporter group in university. There are 6 persons who working volunteer by in-depth interview. The samples included 566 university staff using to analyze in a questionnaire with reliability of 0.90-0.95. The qualitative resultsshowed that 1) the university staff to be pro-social personality was socialized by family, school, and religion agents since early childhood to adult age with work socialization, and 2) the condition of  university staff to be the volunteer worker was the supporting from family and colleague, hope, self- efficacy,  optimize, and good health.  For quantitative datashowed that  1) a causal relationship model of self- wellness management related to volunteer working of university staff  was consistent with an empirical data ( Chi-Square= 2.71, df=3, p-value= 0.44 RMSEA= 0.00, SRMR=0.01, GFI= 1.00, NFI= 1.00, CFI= 1.00, Chi-Square/df= 0.90 ), and 2) volunteer working behavior that got direct influence from positive psychology capital, self- wellness management, socialization to volunteer working, and social support from their family. (effect size = 0.23, 0.16, 0.14  and  0.11  respectively), and  invariance analysis of a model of  self- wellness management related to volunteer working of university staff found that no difference between a faculty group and a supporter group. And socialization in volunteer workinghad influence self-wellness managementsignificantdifferencebetween afaculty group and a supporter group. (rx2= 4.38, rdf=1, p=0.04) Keywords: causal relationship model,  preparation to volunteer working, positive psychology capital, self- wellness management, volunteer working, university staffบทคัดย่อ การทำงานอาสาสมัครไม่ได้เป็นไปเพื่อการเลี้ยงชีพ แต่เป็นการหล่อเลี้ยงจิตใจให้สามารถดำรงชีวิตหลังเกษียณได้อย่างภาคภูมิใจ มีเกียรติมีศักดิ์ศรี จะส่งผลดีต่อสุขภาพกายใจลดภาวะซึมเศร้าส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ ในการวิจัยครั้งนี้ จึงสนใจศึกษาในช่วงวัยที่กำลังจะเข้าสู่การเกษียณอายุเพื่อการทำงานอาสา จึงใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมพร้อมก่อนเกษียณสู่การทำงานอาสา และ 2) พัฒนาและเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัยระหว่างกลุ่มบุคลากรสายวิชาการ กับกลุ่มสนับสนุนวิชาการโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรที่มีการทำงานอาสาอย่างต่อเนื่องจำนวน 6 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับบุคลากรรวมจำนวน 566 คนจากแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.90–0.95 ผลกรณีศึกษาจากผลการสัมภาษณ์ พบว่า 1) การเตรียมพร้อมให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ชอบช่วยเหลือสังคมนั้นเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัว สถานศึกษา รวมถึงความเชื่อทางศาสนาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ทำงาน และ 2) เงื่อนไขที่ทำให้บุคลากรได้ทำกิจกรรมอาสา ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว จากเพื่อนมีความหวัง การมองเห็นความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี รวมทั้งมีสุขภาพทางร่างกายและจิตดี ซึ่งมูลเหตุดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาและทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการศึกษาเชิงปริมาณซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 2.71, df = 3, p-value = 0.44 RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01, GFI = 1.00, NFI = 1.00, CFI = 1.00, Chi-Square/df = 0.90) และ 2) พฤติกรรมการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัยได้รับอิทธิพลทางตรงจากทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การจัดการสุขภาวะตนเอง การได้รับการถ่ายทอดสู่การทำงานอาสา การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.23, 0.16, 0.14 และ 0.11 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัย พบว่า ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มบุคลากรสายวิชาการและกลุ่มสนับสนุนวิชาการ แต่พบค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของตัวแปรการได้รับการถ่ายทอดสู่การทำงานอาสาที่ส่งผลต่อการจัดการสุขภาวะตนเอง มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (rx2 = 4.38, rdf = 1, p = 0.04) คำสำคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ การเตรียมพร้อมสู่การทำงานอาสา ทุนจิตวิทยาเชิงบวก  การจัดการสุขภาวะตนเอง การทำงานอาสา บุคลากรมหาวิทยาลัย  

Downloads

Published

2016-10-13