ธรรมาธิปไตยของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน: ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้The Dhammadhipateyya of the Committee of the Family Development Community Center: Meaning, Component and Indicators
Abstract
The objective of this study was to define and develop indicators of the Dhammadhipateyya of the committee of the family development community center. The committee was formed by the community leader, teachers, and volunteers who were key persons participated in the project on development of families in the community. There were 9 key informants for this research consisted of monks and academic experts in Buddhism, political science, and community development. Research method started from defining the Dhammadhipateyya of the committee of family development community center concept, broking down the concept into main components, and finally selecting indicators pertaining to each dimension. The result showed that the Dhammadhipateyya of the committee of the family development community center or conscious virtue meant the decision making based on accuracy in performance or any action which was under the social rules, sacrifice and generosity complementing for the benefit and happiness of people in their community. Indicators of the Dhammadhipateyya of the committee of the family development community center consisted of 4 components (32 indicators). First, had wisdom – understanding about the community situation, knowing how to prevent and resolve family’s problem in their community (8 indicators). Second, had principles based on kindness and generosity (8 indicators). Third, no prejudice – not allowing self’s emotion or feeling such as bias from satisfied, bias from unsatisfied, bias from fear, and bias from a lack of knowledge or misunderstanding (8 indicators) influencing their decision making in working or lifestyle. Forth, love and behave the rightness – working or behaving toward others with kindness and generosity (8 indicators). Key words: dhammadhipateyya, wisdom, prejudiceบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนิยามความหมาย องค์ประกอบ และกำหนดตัวบ่งชี้ธรรมาธิปไตยของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเป็นกลุ่มบุคคลที่เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ครู และอาสาสมัครที่เข้าร่วมดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาครอบครัวในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ อาจารย์และนักวิชาการ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านพุทธศาสนา ด้านรัฐศาสตร์ และด้านการพัฒนาชุมชน จำนวน 9 ราย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาความหมายของธรรมาธิปไตยตามแนวคิดเชิงนามธรรม แล้วกำหนดเป็นมิติหรือองค์ประกอบ และสร้างตัวบ่งชี้ธรรมาธิปไตยของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน สรุปผลวิจัยได้ดังนี้ ธรรมาธิปไตยของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน หรือ จิตสำนึกคุณงามความดี หมายถึง การตัดสินใจที่ยึดหลักความถูกต้องในการปฏิบัติงานหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้กฎระเบียบ กติกาของสังคม เสียสละ และมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อคนในชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุขของคนในชุมชน โดยตัวบ่งชี้ธรรมาธิปไตยของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน มี 4 องค์ประกอบ (32 ตัวบ่งชี้) ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 มีปัญญา หมายถึง การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในชุมชน วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัวในชุมชน (จำนวน 8 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบที่ 2 มีหลักการ หมายถึง การยึดหลักความถูกต้อง ความเมตตา ความเอื้ออาทร ในการดำเนินงานและการดำเนินชีวิต (จำนวน 8 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบที่ 3 ไม่มีอคติ หมายถึง การไม่ยอมให้อิทธิพลของความชอบ ความไม่ชอบ ความกลัว และความไม่รู้ของตนเอง มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจในการทำงานหรือการดำเนินชีวิต (จำนวน 8 ตัวบ่งชี้) และองค์ประกอบที่ 4 รักและปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม หมายถึง การทำงานหรือปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความเมตตา เอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อให้คนในชุมชนมีความสุข (จำนวน 8 ตัวบ่งชี้) คำสำคัญ: ธรรมาธิปไตย ปัญญา อคติDownloads
Published
2016-10-13
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์