โครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจ ที่ส่งผลต่อตัวแปรด้านประสิทธิผลขององค์การของพนักงานองค์การ ในอุตสาหกรรมการผลิต

Authors

  • วิสุทธิ์ สีนวล นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล BSRI

Abstract

Structural Relationship Model of Causal Factors of Psychological Ownership on Organizational Effectiveness Variables of Manufacturing Organization EmployeesThe purpose of this study was to examine a causal relation model of psychological ownership and organizational effectiveness variables of manufacturing organization employees. The Sample consisted of 690 manufacturing organization employees, by stratified random sampling; 348 government officers and 342 private officers. Eleven questionnaires were used for data collecting. The results revealed that the proposal model fit to the empirical data. For psychological ownership, the variables having positive and direct effects were coming to intimately know the target, investing the self into the target, and knowledge sharing intra group. In addition, the variables having positive and indirect effects were skill variety, task significance, autonomy, and knowledge sharing intra group. These variables accounted for 66 percent of the variance of psychological ownership. For work engagement, the variables having positive and direct effects were psychological ownership and investing the self into the target. In addition, the variables having positive and indirect effects were coming to intimately know the target, investing the self into the target, skill variety, task significance, and knowledge sharing intra group. These variables accounted for 83 percent of the variance of work engagement. For organizational citizenship behavior, the variables having positive and direct effects were work engagement, coming to intimately know the target, and knowledge sharing intra group. In addition, the variables having positive and indirect effects were psychological ownership, coming to intimately know the target, investing the self into the target, skill variety, task significance, autonomy, and knowledge sharing intra group. These variables accounted for 85 percent of the variance of organizational citizenship behavior. The organization can take the causal factors as a guide to create psychological ownership, work engagement, and organizational citizenship behavior for employees, which develop organizational effectiveness. Keywords: psychological ownership, organizational effectiveness, organizational employeesบทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจที่ส่งผลต่อตัวแปรด้านประสิทธิผลขององค์การของพนักงานองค์การในอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 690 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน ประกอบด้วย พนักงานองค์การภาครัฐ 348 คนและภาคเอกชน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัด 11 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบเส้นอิทธิพล พบว่า ความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากการได้รู้จักองค์การอย่างลึกซึ้ง การได้ทุ่มเทตนเองในการทำงาน และการแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มงาน รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากความหลากหลายของทักษะ ความสำคัญของงาน ลักษณะความมีอิสระของงาน และการแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มงาน โดยที่ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจได้ร้อยละ 66 ตัวแปรความยึดมั่นผูกพันในการทำงานได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจ และการได้ทุ่มเทตนเองในการทำงาน รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากการได้รู้จักองค์การอย่างลึกซึ้ง การได้ทุ่มเทตนเองในการทำงาน ความหลากหลายของทักษะ ความสำคัญของงาน และการแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มงาน โดยที่ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความยึดมั่นผูกพันในการทำงานได้ร้อยละ 83 ส่วนตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน การได้รู้จักองค์การอย่างลึกซึ้ง และการแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มงาน รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจ การได้รู้จักองค์การอย่างลึกซึ้ง การได้ทุ่มเทตนเองในการทำงาน ความหลากหลายของทักษะ ความสำคัญของงาน ลักษณะความมีอิสระของงาน และการแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มงาน โดยที่ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ร้อยละ 85 ซึ่งองค์การสามารถนำปัจจัยสาเหตุที่พบในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจ ความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแก่พนักงานเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การ คำสำคัญ: ความเป็นเจ้าของทางด้านจิตใจ ประสิทธิผลขององค์การ พนักงานองค์การ 

Downloads

Published

2016-10-13