การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา ของวัยรุ่นตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
A Confirmatory Factor Analysis of Kalayana Dialogue Communication Skill of Late Adolescents in Bangkok บทคัดย่อ ทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา เป็นทักษะการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดของการให้คำปรึกษาทั้งแนวตะวันตกและแนวพุทธ เพื่อช่วยให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในความเป็นจริงตามธรรมชาติของมนุษย์ และช่วยให้การสนทนาเป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนามาตรวัดทักษะ การสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา ที่ได้ทำการวิเคราะห์ความเที่ยงและความสอดคล้องภายในตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค จากนั้นทำการสำรวจจำนวนองค์ประกอบและตัวบ่งชี้องค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างหรือยืนยันองค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัย พบว่า มาตรวัดทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนามีคุณภาพสำคัญ ดังนี้ 1) ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของมาตรวัด เท่ากับ .86 2) การสำรวจองค์ประกอบของทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การเปิดเผยตนเองและการเชื่อมสมาน การให้เกียรติตนเองและคู่สนทนา การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจในตัวบุคคลด้วยความเห็นอกเห็นใจ และไม่ตัดสิน การสะท้อนความรู้สึก การทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัด และการสนับสนุน 3) การยืนยันองค์ประกอบ พบว่า สนับสนุนความตรงเชิงโครงสร้างจากการสำรวจองค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ดังนี้ c2 = 3.515; df = 6; p-value = .742; GFI = .997; AGFI = .988; RMSEA = .004; RMR = .002 คำสำคัญ: ทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันDownloads
Published
2014-08-01
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์