การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองและครูของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (The Development of Learning Innovation for the Parents and Teachers of “Gifted Child”)

Authors

  • ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร (Laddawan Kasemnet) 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • ชูศรี วงศ์รัตนะ(Chusee Wongrattana) นักวิชาการอิสระ
  • ประทีป จินงี่ (Prateep Jinnge) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
  • ประณต เค้าฉิม (Pranot Khotchim) นักวิชาการอิสระ
  • ทัศนา ทองภักดี (Tasana Thongpukdee) นักวิชาการอิสระ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองและครูของเด็กที่มีความสามารถพิเศษมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองและครูด้านการเรียน ด้านอารมณ์ และด้านสังคมของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองและครู วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจปัญหาและความต้องการความรู้ในการแก้ปัญหาของผู้ปกครองและครูเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเรียน ด้านอารมณ์ และด้านสังคมของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยใช้แบบสำรวจ ระยะที่ 2 สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ประกอบด้วย การสร้างแบบสำรวจคุณลักษณะเบื้องต้นของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ และการสร้างหนังสือการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมทั่วไปด้านการรู้คิด ด้านอารมณ์ และด้านสังคม ของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ผลการวิจัยในระยะที่ 1 พบว่าผู้ปกครองของเด็กที่มีความสามารถพิเศษทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาส่วนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่าปัญหาของเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนคือการไม่สนใจเรียน ด้านอารมณ์คือการแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมกับผู้อื่นและการเอาแต่ใจตนเองส่วนด้านสังคม มีปัญหาทั้งเรื่องการชอบอยู่คนเดียวและการชอบเข้าสังคมมีเพื่อนมาก ครูของเด็กที่มีความสามารถพิเศษทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาส่วนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่าปัญหาของเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนคือการไม่สนใจเรียนด้านอารมณ์คือโกรธโมโหง่ายและด้านสังคมคือชอบอยู่คนเดียว ส่วนระยะที่ 2 ได้ ผลการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เบื้องต้น ประกอบด้วย แบบสำรวจคุณลักษณะเบื้องต้นของเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับประถมศึกษา มีจำนวน 54 ข้อ ส่วนระดับมัธยมศึกษา มีจำนวน 52 ข้อ และได้นวัตกรรมที่เป็นหนังสือชื่อ “เมื่อลูก (ศิษย์) เป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษ”   คำสำคัญ:  เด็กที่มีความสามารถพิเศษ นวัตกรรมการเรียนรู้

Downloads

Published

2014-08-01