การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร (A Factor Analysis of Support Staff’s Competencies Needed for Conducting Effective Institutional Research at Public)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะจำเป็นสำหรับการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 923 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามบรรจุข้อความและมาตรประเมิน 5 ระดับที่อยู่ในรูปแบบการตอบสนองคู่ และวิเคราะห์ด้วยการคำนวณผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของข้อความบ่งชี้สมรรถนะการทำวิจัยสถาบันที่สำคัญจำเป็นในอนาคตและที่เป็นจริงในปัจจุบัน แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลักและติดตามด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเทียบขนาน สืบค้นเมื่อเบื้องต้นเพื่อตรวจหาและตัดสินใจลงสรุปจำนวนองค์ประกอบที่มี จากนั้นสกัดปัจจัยร่วม (Common Factor) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แกนหลักและหมุนแกนโดยวิธี Direct Oblimin เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างแฝงเร้นเบื้องหลังชุดข้อความบ่งชี้สมรรถนะการทำวิจัยสถาบัน ผลการวิจัย พบว่า เชาวน์ปัญญาการรู้คิด (IQ) เชาวน์ปัญญาอารมณ์ (EQ) และเชาวน์ปัญญาศีลธรรม (MQ) คือสมรรถนะจำเป็นลำดับที่ 1, 2, และ 3 ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะจำเป็นสำหรับการทำวิจัยสถาบันประกอบด้วยเชาวน์ปัญญา 4 แบบที่สัมพันธ์กัน (อธิบายความแปรปรวนรวมได้ 64.673%) ประกอบด้วย เชาวน์ปัญญาด้านอารมณ์ (46.458%) การรู้คิดทางเทคนิค/การวิเคราะห์ (9.283%) ศีลธรรม (4.933%) และการรู้คิดการต่อประเด็นปัญหา/บริบทการวิจัย (3.999%) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่าทั้ง EQ และ MQ คือ สมรรถนะจำเป็นที่ช่วยหนุนเสริมให้การทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายวิชาการประสบผลสำเร็จได้สูงถึง 51.391% ในขณะที่ IQ ช่วยได้เพียง 13.282% เท่านั้น คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิจัยสถาบัน สมรรถนะการทำวิจัยสถาบัน เชาวน์ปัญญาการรู้คิด องค์การ เชาวน์ปัญญาอารมณ์ และเชาว์ปัญญาศีลธรรมDownloads
Published
2014-08-01
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์