ค่านิยมส่วนบุคคลของนักศึกษาการบัญชีของไทย กรณีศึกษา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Authors

  • อุเทน เลานำทา (Uthen Laonamtha) คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรวิทย์ เลาหะเมทนี (Worawit Laohamethanee) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ภาคพายัพ จ.เชียงใหม่

Abstract

A Confirmatory Study of Thai Accounting Students’ Personal Value Case Study: Rajamangala University of Technology Lanna and Mahasarakham University บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมส่วนบุคคล รวมถึงประเภทของค่านิยมและการให้ความสำคัญแก่ค่านิยมของนักศึกษาการบัญชีในประเทศไทย ศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดของ Rokeach (1973) ร่วมกับแบบสอบถามการวัดค่านิยมส่วนบุคคล ตามแนวคิด ของ Schwarts and Sagiv (1995) เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 449 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการประมาณค่าวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า การนำแบบจำลองค่านิยมส่วนบุคคล ตามแนวคิดของ Rokeach (1973) มาศึกษาในประเทศไทยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยที่องค์ประกอบค่านิยมส่วนบุคคลเชิงกระบวนการ ประกอบด้วย การยึดถือปฏิบัติตามกฎ การควบคุมตนเองและการยึดถือความดีงาม  ในขณะที่ค่านิยมเชิงเป้าหมาย ประกอบด้วย ความพอใจส่วนบุคคล อุดมคติ ค่านิยมด้านความมั่นคงและการมองโลกตามความจริง การศึกษานี้ทำให้เข้าใจองค์ประกอบของค่านิยมส่วนบุคคลของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีและอาจเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ตัววัดค่านิยมส่วนบุคคลของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีซึ่งอาจนำไปใช้กับกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เช่น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือนักบัญชีเพื่อการศึกษาอื่นในอนาคต คำสำคัญ: ค่านิยมส่วนบุคคล นักวิชาชีพบัญชี จริยธรรม

Downloads

Published

2014-08-01

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์