ผลของโครงสร้างเป้าหมายของชั้นเรียนที่มีต่อเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ของนิสิต(The Effect of Classroom Goal Structure on Student’s Achievement Goals)

Authors

  • สุรวิทย์ อัสสพันธุ์(Surawit Assapun) 7 ซอยสาทร9 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
  • ดุษฎี โยเหลา(Dusadee Yoelao) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี(Wiladlak Chuawanlee)
  • พาสนา จุลรัตน์ ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทดสอบอิทธิพลของโครงสร้างเป้าหมายที่มีต่อเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์  โดยโครงสร้างเป้าหมายคือบรรยากาศที่สะท้อนถึงเป้าหมายของชั้นเรียน แบ่งออกเป็น โครงสร้างเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงาน และความเชี่ยวชาญ ส่วนเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์นั้นคือความคิดเกี่ยวกับความสามารถเมื่อสิ้นสุดพฤติกรรม ซึ่งอาศัยแนวคิดรูปแบบเป้าหมายแบบ 2x2 มาใช้ในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบแฟคเตอร์เรียลที่มีการสุ่มสมบูรณ์ โดยมีนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 60 คน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย นิสิตทำแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด และเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ก่อนเริ่มกิจกรรม จากนั้นนิสิตเข้าเรียนในวิชาทฤษฎีการเรียนรู้เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม นิสิตทำแบบสอบถามโครงสร้างเป้าหมาย และเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานส่งผลต่อเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานแบบเข้าหาและอิทธิพลจะเพิ่มขึ้นเมื่อร่วมกับโครงสร้างเป้าหมายเพื่อความเชี่ยวชาญ โครงสร้างเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานทำให้เกิดเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานแบบหลีกเลี่ยง โครงสร้างเป้าหมายเพื่อ     ความเชี่ยวชาญต้องร่วมกับโครงสร้างเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานทำให้เกิดเป้าหมายเพื่อความเชี่ยวชาญแบบเข้าหา และโครงสร้างเป้าหมายเพื่อการแสดงผลงานทำให้เกิดเป้าหมายเพื่อความเชี่ยวชาญแบบหลีกเลี่ยง   คำสำคัญ: โครงสร้างเป้าหมาย เป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง

Downloads

Published

2014-07-31

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์