การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา

Authors

  • ดิษยุทธ์ บัวจูม(Disayuit Buajoom) 69/1 ม.7 ต.คำเนียม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง(Dr. Ungsinun Intarakamhang) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรรณี บุญประกอบ นักวิชาการอิสระ
  • สุภาพร ธนะชานันท์(Supaporn Thanachanan) นักวิชาการอิสระ

Abstract

The Development of Learning  Model by Community Based Approach for Establishing both Vocational Interests and Skills on Local Careers for the Students of BAN-PANAENG WITTAYA SCHOOLบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของบ้านพะแนง และโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา โดยมีผู้ร่วมวิจัย 21 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 23 คน รวม 44 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกเป็นระยะเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ร่วมวิจัย และระยะที่สองเป็นระยะวางแผน นำแผนไปปฏิบัติ และปรับปรุง เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่น การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามความสนใจในอาชีพ แบบทดสอบความรู้ในอาชีพ แบบสอบถาม       เจตคติต่ออาชีพทอผ้าลายลูกแก้ว และอาชีพทำอุปกรณ์ทอผ้า และแบบสังเกตความชำนาญในการปฏิบัติงานทอผ้า และทำอุปกรณ์ทอผ้า ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการสังเกตแบบมี    ส่วนร่วม พบผลการวิจัยดังนี้ 1) ผลจาการพัฒนาได้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาอาชีพทอผ้าลายลูกแก้วและทำอุปกรณ์ทอผ้าจำนวน 60 ชั่วโมงโดยเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านควบคู่การฝึกปฏิบัติจริง  ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมี 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของนักเรียน (2) ร่วมตัดสินใจเลือกอาชีพในชุมชน (3) สร้างหลักสูตรท้องถิ่น         (4) วิพากษ์หลักสูตรท้องถิ่นและ (5) ทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตร 2) ผลการเปลี่ยนแปลงความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนทอผ้าลายลูกแก้วมีความสนใจในอาชีพอยู่ในระดับสนใจมากและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ส่วนนักเรียนที่เรียนทำอุปกรณ์ทอผ้ามีความสนใจในอาชีพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนที่เรียนทอผ้าลายลูกแก้วและนักเรียนที่เรียนทำอุปกรณ์ทอผ้ามีทักษะในอาชีพท้องถิ่นอยู่ในระดับดี และ 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่ (1) ศึกษาศักยภาพของชุมชน (2) กระตุ้นบุคคลในชุมชนและบุคลากรในโรงเรียนตระหนัก และมีพลังอำนาจในการจัดการศึกษาร่วมกัน (3) ศึกษาความต้องการพัฒนาด้านอาชีพในท้องถิ่นของนักเรียน (4) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (5) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง (6) จัดโครงการเสริมการเรียนรู้และ (7) ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

Downloads

Published

2014-07-31

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์