ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ในโรงพยาบาลเอกชน : การนิยามมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือวัด
Abstract
The servant leadership in private hospital: A conceptualization and scale developmentบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่นำไปสู่การนิยาม ความหมายและองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย 2) เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมตามความหมายและองค์ประกอบจากการสังเคราะห์ที่นำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน และ 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่ได้มาจากการประชุมกลุ่ม งานวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยผสานวิธีตามลำดับเวลา 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 และ 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นจากการใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต เพื่อสังเคราะห์นิยาม ความหมายและองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 ใช้วิธีการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์พยาบาลเพื่อระดมสมองในการกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบ ที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 สำหรับการวิจัยระยะที่ 3 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยนำตัวชี้วัดที่ได้สร้างเป็นข้อคำถาม นำไปทดลองใช้เก็บข้อมูลจากหัวหน้าพยาบาลจำนวน 116 คน จากโรงพยาบาลเอกชน 6 แห่ง เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ ผลการสังเคราะห์ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของแพทเตอร์สันและสเปียรส์ สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ โดยองค์ประกอบที่ไม่ซ้ำซ้อนและสอดคล้องกับบริบทสังคม และวัฒนธรรมไทยมี 9 องค์ประกอบ นำไปสู่การสร้างการกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรมทั้งหมด 36 พฤติกรรมในระยะที่ 2 ซึ่งนำไปใช้สร้างเครื่องมือวัดในระยะที่ 3 ทั้งหมด 42 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.90(p<.05) มีค่าแอลฟ่ารายด้านระหว่าง 0.512 ถึง 0.818 และทั้งฉบับ 0.93 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า 9 องค์ประกอบนี้มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างเนื่องจาก วัดตัวแปรแฝงตัวเดียวกัน ซึ่งคือภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ (c2=31.29, df=24, P-value=0.15, RMSEA=0.51; GFI = 0.94; CFI = 0.99; NNFI = 0.99, AVE = 0.55, CR = 0.92) มีค่านำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 0.88 คำสำคัญ: ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ การวิจัยผสานวิธีDownloads
Published
2014-07-31
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์