A Study of Moral Virtues Appropriate to Secondary and Vocational Students by Factors Analysis
Abstract
การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบAbstract The research aimed at 1) studying appropriateness of moral virtues indicators for secondary and vocational students, and 2) analyzing moral virtues factors appropriate to secondary and vocational students. The research instruments were 1) questionnaire appropriateness measure of moral virtues indicators for secondary and vocational students and 2) questionnaire on the needs by private Enterprises, educational institute concerned moral virtues appropriate to secondary and vocational students. The statistics included percentage, mean, standard deviation, and exploratory factor analysis. Two sample groups were: 1) 5 expert informants selected by purposive sampling, 2) 5 informants from 5 institutes 5 regions under the Office of Vocational Education Commission (OVEC) selected by 3 random sampling stages, and enterprises which had cooperation with the educational institute under OVEC. The enterprises with had cooperation with the educational institute under OVEC included 2 groups: 1) 150 administrators and lecturers of the institutes under OVEC, and 2) 150 administrators and enterprise chiefs. The results were 37 appropriate indicators. The appropriateness value was between moderate and much level (1.75 -3.00), 7 factors from moral virtues indicators appropriate to secondary and vocational students (total variances = 65.08 %) including learning base, human being benefits, life sufficiency, mental support, self-esteem, career intention, and self-existence. The learning base could explain the highest variance (12.73 %) with 8 indicators: honesty, responsibility, diligence, discipline, harmony, sacrifice, vocational admiration, and interests. Keywords: Moral virtues, Secondary school students, Vocational students, Exploratory Factor Analysis (EFA) บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามวัดความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) แบบสอบถามความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลการพิจารณาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม คือผู้เชี่ยวชาญด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลการค้นหาองค์ประกอบคุณธรรมจริยธรรม ได้มาโดยการสุ่มแบบสามขั้นตอน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 5 แห่ง 5 ภูมิภาค และสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้บริหาร และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 150 คน 2) ผู้บริหารและหัวหน้างานในสถานประกอบการ จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า มีตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสม จำนวน 37 ตัวบ่งชี้ มีค่าความเหมาะสมระดับปานกลางถึงมาก (อยู่ระหว่าง 1.75-3.00) และผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมที่มีความเหมาะสมกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ได้ 7 องค์ประกอบ (ความแปรปรวนรวม=65.08 %) ประกอบด้วย พื้นฐานแห่งการเรียนรู้ อรรถประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ความพอเพียงแห่งการดำรงชีวิต การค้ำจุนทางจิต เกียรติภูมิแห่งตน การมุ่งประกอบอาชีพ และการดำรงแห่งตน ซึ่งองค์ประกอบแรก คือ พื้นฐานแห่งการเรียนรู้ สามารถอธิบายคุณธรรมจริยธรรมได้สูงสุด (ความแปรปรวนองค์ประกอบแรก =12.73 %) มี 8 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความมีวินัย ความสามัคคี ความเสียสละ ความศรัทธาในวิชาชีพ และความสนใจใฝ่รู้ คำสำคัญ: คุณธรรมจริยธรรม นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจDownloads
Published
2014-01-30
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์