Analysis and Synthesis of Research in Science, Humanity and Social Science: Srinakharinwirot University Case Study by Meta and Content Analysis

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกำแหง รองศาสตราจารย์ ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นิพิฐพนธ์ แสงด้วง นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิยะ บูชา นักวิชาการอิสระ

Abstract

การวิเคราะห์สังเคราะห์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและอภิมาน The main objectives of this research were to analyze, synthesize and evaluate the quality of research for policy utilization at Srinakharinwirot University. The sample of 749 studies was selected by purposive sampling from the complete researches during 2008 – 2011. Qualitative data were synthesized by content analysis and presented in percentages. Quantitative data were synthesized by estimating effect size through the meta-analysis by Glass and others. Research results on descriptive data found that the majority of research published in 2009 (36.6%) and in the field of humanities and social science (44.1%). The average number of coordinated researchers was 1.87. The average number of pages was 51.77, excluding appendices. The majority of research designs were of experimental research (37.7%). And the majority of the studied groups were the samples in science experiments (34.4%). The results of internal and external validity found that the majority of randomization was non-identity about the randomized method (59.5%), by purposive sampling (21.7%). The majority of the measurement quality test found that they were no test (40.9%). The mean, SD, and percent were using 56.7% highest of total researches and t-test (21.4%). The major use of these researches was for institutional development and routine research (57.1%). The results of meta-analysis from 10 studies found that the learning developmental programs had influenced the learning achievement of students. The learning developmental programs had an influence on analytical thinking ability such as inquiry-based learning by technology information data (d=4.75), learning physics activities by PDCA (d=2.71), six thinking hats learning program (d=2.48), teaching by concept mapping (d=1.09), and inquiry-based learning of science activities (d=.63), respectively. Keywords: Synthesis of research, Quality of research, Meta- analysis, Content analysis  บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินคุณภาพงานวิจัยที่นำไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์อภิมานตามแนวคิดของกลาสและคณะ จากรายงานวิจัยตัวอย่าง 749 เรื่องที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะที่เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2554 ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ลักษณะทั่วไปของงานวิจัย 1.1) ส่วนใหญ่ผลิตในปี พ.ศ.2552 คิดเป็นร้อยละ 36.6 อยู่ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ร้อยละ 44.1 1.2) มีจำนวนผู้ร่วมวิจัยเฉลี่ย 1.87 คน/เรื่อง มีจำนวนหน้าไม่รวมภาคผนวกเฉลี่ย 51.77 หน้า จำนวนตัวแปรอิสระเฉลี่ย 1.22 ตัว และมีจำนวนตัวแปรตามเฉลี่ย 1.18 ตัว 1.3) การออกแบบงานวิจัยเป็นเชิงทดลองร้อยละ 37.7 1.4) กลุ่มตัวอย่างเป็นสิ่งทดลองทางวิทยาศาสตร์ร้อยละ 34.4  2) ผลประเมินคุณภาพด้านความตรงภายในภายนอกของงานวิจัย ส่วนใหญ่ พบว่า 2.1) ไม่ระบุวิธีการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.5 และสุ่มโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นตามการเลือกแบบเจาะจงร้อยละ 21.7 2.2) ไม่ระบุวิธีการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยร้อยละ 40.9 2.3) ใช้สถิติเชิงพรรณาร้อยละ 56.7 และการทดสอบค่าทีร้อยละ 21.4  2.4) การนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับพัฒนางานตนเองเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 และ 3) ผลวิเคราะห์อภิมานจากงานวิจัยที่ศึกษาตัวแปรตามเดียวกัน 10 เรื่อง พบว่า 3.1) โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนที่ให้ค่าอิทธิพลสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องเคมีพอลิเมอร์การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ การสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคนิคผังความคิด การจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท และชุดกิจกรรมฟิสิกส์ PDCA ด้วยค่า d = 4.03, 3.83, 3.73, 2.52 และ 2.24 ตามลำดับ 3.2) โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของการเรียนที่ให้ค่าอิทธิพลสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดกิจกรรมฟิสิกส์ PDCA การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ การสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคนิคผังความคิด และการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ด้วยค่า d = 4.75, 2.71, 2.48, 1.09 และ .63 ตามลำดับ คำสำคัญ : การสังเคราะห์งานวิจัย คุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์อภิมาน การวิเคราะห์เนื้อหา  

Downloads

Published

2014-01-30