ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาผ่านเครือข่าย การเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร

Authors

  • องอาจ นัยพัฒน์(Ong-Art Naiyapatana)
  • นันท์นภัส พลเตมา(Nanapat Poltema) อาจารย์ โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร

Abstract

Factors Influencing the Acceptance and Utilization of EducationalInnovation through a Learning Network for the Development of TeacherProfession in Basic Educational Institutions, Bangkok MetropolitanThe purpose of this study was to investigate the factors influencing the acceptance and utilization ofeducational innovation through leaning network in basic educational institutions, Bangkok. Thesamples were 2,852 elementary and secondary teachers in the academic year of 2551 under thejurisdiction of all Educational Areas of Bangkok who were simple randomly selected. Five latentvariables of the study were measured from 22 observational variables. The independent variablesincluded 1) latent variable of social working transfer in school organization that was measured fromfour observational variables including teachers’ working style transferred from (a) one-to-one, (b) oneto–group, (c) one-to-formal group, and (d) one-to-computer network, 2) latent variable of selfadaptation atmosphere to follow school events that was measured from five observational variablesincluding (a) schools’ innovation atmosphere, (b) management support, (c) working performancesupport, (d) policy implication for enhancing adaptation atmosphere in schools, and (e) informationexchange in schools, 3) latent variable of teachers’ accomplishment perception that was measured from7 observational variables including (a) decision making influence, (b) school material influence, (c)instructional management, (d) class/school discipline management, (e) parents participation request, (f)social participation request, and (g) creating schools’ positive environment and 4) latent variable ofachievement motivation to teacher working performance that was measured from 3 observationalvariables including (a) teachers’ working inspiration, (b) teachers’ working endurance, and (c) teachers’enthusiasm for teacher professional development. The dependent variable included latent variable ofeducational innovation acceptance and utilization that was measured from 3 observational variablesincluding 1) frequency of using learning network, 2) time of using a learning network, and 3) intentionand confirmation of using the learning network.The finding was summarized that the model following the hypothesis was relevant to evident data in themoderate level. Its χ2 was 1076.55, p=00, GFI=.97, AGFI = .94, SRMR = .043, and RMSEA=.047. Thevariable that directly influenced to acceptance and utilization of educational innovation was teachers’achievement perception, self adaptation atmosphere to follow school events, social working transfer inschool organization, and achievement motivation in teacher working performance. Their influencingvalues were .40, .35, .26, and .11 respectively. The factors that indirectly influenced the acceptance andutilization of educational innovation were teachers’ achievement perception, self adaptation atmosphereto follow school events through working social transfer in schools. Their influencing values were .06and .10 respectively. All causal variables could explain the variances of educational innovationacceptance and utilization at the percentage of 68.Keywords: acceptance of innovation, use of innovation, learning network, social workingtransfer, development of teacher professionบทคัดย่อการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาบนเครือข่ายการเรียนรู้ของครูชั้นประถมและมัธยมศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นครูจำนวน 2,852 คน โดยได้จากการสุ่มอย่างง่าย โมเดลตามสมมุติฐานในการศึกษาครั้งนี้มีตัวแปรแฝง 5 ตัว ที่วัดค่ามาจากตัวแปรสังเกตได้ 22 ตัวแปร ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ คือ 1) การถ่ายทอดทางสังคมการทำงานในองค์กรโรงเรียน ที่วัดค่ามาจากรูปแบบการถ่ายทอดในการทำงานของครูแบบบุคคล-บุคคล แบบบุคคล-กลุ่มบุคคลแบบบุคคล-กลุ่มบุคคลทางการ และแบบบุคคล-เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) บรรยากาศการปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ของโรงเรียน วัดค่ามาจากบรรยากาศทางด้านนวัตกรรมของโรงเรียน การให้ความสนับสนุนด้านการบริหารจัดการการให้ความสนับสนุนด้านการปฏิบัติงาน การใช้นโยบายส่งเสริมบรรยากาศการปรับตัวในโรงเรียน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในโรงเรียน 3) การรับรู้ความสามารถของครู ที่วัดค่ามาจากการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจการมีอิทธิพลต่อทรัพยากรของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน การจัดการวินัยในชั้นเรียน/โรงเรียน การร้องขอให้ผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วม การร้องขอให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วม และการสร้างบรรยากาศทางบวกในโรงเรียน และ4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานวิชาชีพครู วัดค่ามาจากแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครูความมานะพยายามในการปฏิบัติงานครู และความมุ่งมั่นในการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครู และตัวแปรตาม คือการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษา ที่วัดค่าจากความถี่การใช้และระยะเวลาการใช้เครือข่ายการเรียนรู้ และความตั้งใจและยืนยันการใช้เครือข่ายการเรียนรู้ผลการวิจัยสรุปว่าโมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่า χ2=1076.55, p = .00, GFI = .97, AGFI = .94, SRMR = .043 และ ค่า RMSEA = .047 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การรับรู้ความสามารถของครู บรรยากาศการปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ของโรงเรียน การถ่ายทอดทางสังคมการทำงานในองค์กรโรงเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครู โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .40 , .35 , .26 และ .11 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การรับรู้ความสามารถของครู และบรรยากาศการปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ของโรงเรียน โดยผ่านทางการถ่ายทอดทางสังคมการทำงานในองค์กรโรงเรียน โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ.06 และ .10 ตามลำดับ โดยตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาได้ร้อยละ 68คำสำคัญ: การยอมรับนวัตกรรม การใช้นวัตกรรม เครือข่ายการเรียนรู้ การถ่ายทอดทางสังคมการทำงานการพัฒนาวิชาชีพครู

Downloads

Published

2012-03-15