การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณในบริบทของสังคมไทย(The Synthesis of Body of Knowledge related to Spiritual Well-Being in the Context of Thai Society )
Abstract
This study attempted to synthesize body of knowledge of spiritual well-being in the contextof Thai society and analyze spiritual well-being development methods for Thais by synthesizingfrom research reports of researchers, thesis and independent studies of graduate students,and dissertations of doctoral students from higher education institutions and other units, during2000-2010. In this study, 35 research studies were used as the sample. Qualitative data wasanalyzed and synthesized, using content analysis technique and interpretative approaches.In addition, the body of knowledge status was concluded based on epistemology of pragmatism.Results of research revealed: 1) the definition has been defined in several and different waysaccording to paradigm, methodology and social contexts, therefore universal definition for allcannot be given. 2) the factors can be divided into 2 groups, i.e., a) internal factors which involvedbiosocial factors, past experience, personality, Buddhist practice and depression, and b) externalfactor which involved socialization, social support, environment and health status. 3) theconstruction of measuring instruments and assessment could be done in several ways and differentmethods for assessment should be applied. 4) the development methods could be divided into 2levels, i.e., a) individual level which was spiritual well-being development methods of children,youths and adults, and b) social level which was spiritual well-being development methods ofschools and organizations.Keywords: synthesis of body of knowledge, spiritual well-being, spirituality, epistemologyบทคัดย่อการวิจัยนี้มุ่งสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณในบริบทของสังคมไทย และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณสำหรับคนไทย โดยสังเคราะห์จากรายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์และการศึกษาอิสระของนักวิจัยและนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ในช่วงพ.ศ. 2543-2553 จำนวน 35 เรื่อง ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ แล้วสรุปสถานะองค์ความรู้โดยใช้ญาณวิทยาในกลุ่มปฏิบัตินิยมเป็นฐานคิด ผลการศึกษาพบว่า1) การนิยามความหมาย มีการนิยามไว้หลากหลายแตกต่างกันไปตามกระบวนทัศน์ วิธีวิทยา และบริบททางสังคมดังนั้น ผู้วิจัยจึงไม่สามารถกำหนดให้เป็นนิยามกลางๆ ที่มีความเป็นสากลได้ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ลักษณะชีวสังคม ประสบการณ์ในอดีต บุคลิกภาพ การปฏิบัติทางพุทธศาสนาและภาวะซึมเศร้า และกลุ่มปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย การถ่ายทอดทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและภาวะสุขภาพ 3) การสร้างเครื่องมือและการประเมิน สามารถทำได้หลายวิธี และควรใช้หลายวิธีร่วมกันในการประเมิน 4) แนวทางการพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับบุคคล ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณในเด็กและเยาวชน ในผู้ใหญ่ และ 2) ระดับสังคม ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณในโรงเรียนและในองค์กรคำสำคัญ: การสังเคราะห์องค์ความรู้ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ จิตวิญญาณ ญาณวิทยาDownloads
Published
2012-03-15
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์