เหตุและผลของพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต/นักศึกษาไทย The Cause and Effect of Drinking Behavior of Thai Undergraduate Students

Authors

  • วิชุดา กิจธรธรรม (Wichuda Kijtorntham) Lecturer at Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University

Abstract

The recent studies indicate the increase in drinking behavior of undergraduate students inThailand. This article aims to present the cause-effect relationship between factors affectingdrinking behavior of undergraduate students. The five causal factors compose of threepsychological factors: alcohol expectancy, drinking motive, and sensation seeking; one socialfactor, peer, parental and social network influences; and biosocial factor: all of which influence onundergraduate students’ drinking behavior. The problems related to undergraduate students’ riskbehaviors consist of three domains: 1) problems with themselves such as acute and chronic healthdamage, brain damage and poor academic achievement; 2) problems with others close to them,such as conflicts and unplanned sex; and 3) social problems such as drunk driving accidents.Therefore, solving problems and consequence of undergraduate students’ drinking behaviorsrequires focus on reducing the effect of causal factors and strengthening of psychological factors:1) decrease the influence of three causal factors, alcohol expectancy, drinking motive, andsensation seeking by promoting the understanding of acute and long term effect of alcoholconsumption on themselves, close people and social groups; 2) modify the attitudes ofundergraduate students by increasing of positive motivation and positive sensation seeking of newexperiences of benefit to society and the public; 3) promote the family to serve as the child’spositive socialization agent; 4) In-Depth Research to study the proper way to changeundergraduate students’ behavior to effectively stop drinking; and 5) longitudinal study amonghigh-school students to propose the way to reduce the new alcohol consumers.Keywords: drinking alcohol, risk behavior, Thai undergraduate student, cause and effect factorบทคัดย่อผลการศึกษาในเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่านิสิต/นักศึกษามีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มสูงขึ้น บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต/นักศึกษา ปัจจัยเชิงเหตุมี 5 ปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยทางจิต 3 ปัจจัย ได้แก่ ความคาดหวังผลของแอลกอฮอล์แรงจูงใจในการดื่ม และความรู้สึกแสวงหา ปัจจัยทางสังคม 1 ปัจจัย ได้แก่ อิทธิพลจากเพื่อน ครอบครัว และเครือข่ายทางสังคม และปัจจัยชีวสังคม ซึ่งส่งผลให้นิสิต/นักศึกษามีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยเชิงผลที่เกิดขึ้นติดตามมาคือ สภาพปัญหาที่เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิต/นักศึกษา 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาที่เกิดกับตัวนิสิต/นักศึกษา เช่น สุขภาพถูกทำลายอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง สมองถูกทำลาย ผลการเรียนเลวลง 2) ปัญหาที่เกิดกับคนรอบข้าง ได้แก่ การทะเลาะวิวาท มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ และ 3) ปัญหาที่เกิดกับสังคม เช่น เมาแล้วขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต/นักศึกษา จะต้องให้ความสำคัญกับการปรับลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต/นักศึกษาด้วยการลดอิทธิพลของปัจจัยเชิงเหตุและเพิ่มความเข้มแข็งของปัจจัยทางจิต คือ 1) การลดอิทธิพลของปัจจัยเชิงเหตุที่สำคัญ 3 ปัจจัยคือ ความคาดหวังผลของแอลกอฮอล์ แรงจูงใจในการดื่มแอลกอฮอล์ และความรู้สึกแสวงหา ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นิสิต/นักศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวที่มีต่อตนเองคนรอบข้าง และสังคม 2) การปรับเปลี่ยนเจตคติของนิสิต/นักศึกษาให้มีแรงจูงใจและแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆเชิงบวกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณชน 3) การส่งเสริมให้ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดทางสังคมเชิงบวกแก่เด็ก 4) การวิจัยเชิงลึกเพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการปรับพฤติกรรมนิสิต/นักศึกษาให้สามารถยุติพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 5) การวิจัยแบบติดตามผลระยะยาวในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อหาแนวทางในการลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ต่อไปคำสำคัญ: การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเสี่ยง นิสิต/นักศึกษาไทย ปัจจัยเชิงเหตุและผล

Downloads

Published

2012-03-15