บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “พลวัตการจัดการความขัดแย้ง”
Abstract
This article intends to introduce the textbook named " The Dynamics of Conflict Resolution: A Practitioner's Guide" which aims to exhaustively present the concepts of conflict and conflict resolution guideline, including assorted types and levels of conflict under the modern conflict paradigm. As its explanation consisting of obvious conceptual frameworks, relevant case studies and examples from the real conflict management experiences taking place in various social contexts, this book, therefore, is beneficial in academic research for developing innovative knowledge about conflict management. Furthermore, it is practically helpful for executive and conflict management agents to use as a direction to ease any conflict situation. This book is composed of 11 chapters, divided into two main parts. The first four chapters attempt to clarify the understanding of conflict, covering the definition of conflict, conflict viewpoint, characteristics of conflict, cause of conflict, and the process of conflict occurrence within many types of social context. It also identifies other factors relating to interaction between human and social which have an influence on conflict. The second part of this book presents the direction and the procedure of conflict resolution, including in chapter 5 to chapter 11 which mention the nature and characteristics of conflict resolution, the analysis of conflict situation to define the appropriate level of complicated conflict, and the concept of conflict transformation. Then, the importance of communication is followed as the basis of conflict resolution procedure, including the effective communication and negotiation process. It also presents the importance and definition of impasse in conflict situation, and explains how to overcome it. These contents aforementioned bring about the alternative conflict resolution which integrates the various conflict management tools together to be the new approach according to the dynamic state of conflict. Finally, it summarizes the overall conflict management, the significance of developing the new conflict management approach, and the necessary characteristics of the conflict management agent.Keywords: conflict, dynamics of conflict, conflict resolution, conflict transformationบทคัดย่อ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำหนังสือ "พลวัตการจัดการความขัดแย้ง" ซึ่งเป็นหนังสือที่นำเสนอถึงความขัดแย้งและแนวทางการจัดการความขัดแย้งในกระบวนทัศน์ใหม่อย่างละเอียด โดยครอบคลุมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบริบทที่มีความหลากหลายทั้งด้านประเภทและระดับของความขัดแย้ง ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่มีทั้งกรอบแนวคิด กรณีศึกษา และตัวอย่างจากประสบการณ์จริงในการจัดการความขัดแย้งของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในบริบทที่มีความหลากหลาย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านวิชาการในแง่การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติให้กับผู้บริหารและผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 11 บท ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือบทที่ 1 ถึงบทที่ 4 เป็นการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งในด้านนิยาม มุมมอง ลักษณะ ที่มา และกระบวนการเกิดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยและบริบททางสังคมต่างๆ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมที่ส่งผลต่อความขัดแย้ง สำหรับส่วนที่สองกล่าวถึงแนวทางและกระบวนการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งประกอบไปด้วยบทย่อย 7 บทคือบทที่ 5 ถึงบทที่ 11 โดยกล่าวถึงธรรมชาติและลักษณะของการจัดการความขัดแย้ง การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อค้นหาระดับความลึกที่พอเหมาะของความขัดแย้งที่ซับซ้อน และแนวคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict transformation) จากนั้นได้กล่าวถึงการสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการจัดการความขัดแย้ง ประกอบด้วยพื้นฐานและองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีประสิทธิผล และกระบวนการเจรจาต่อรอง (Negotiation) และกล่าวถึงสภาวะทางตันในความขัดแย้ง รูปแบบและมิติต่างๆ รวมถึงวิธีการก้าวผ่านหรือการจัดการสภาวะทางตัน นำมาซึ่งแนวทางการจัดการความขัดแย้งแบบอื่นๆ ที่เชื่อมโยงการใช้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งหลายๆ แบบเข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตของความขัดแย้ง ส่วนบทสุดท้ายได้สรุปภาพรวมของการจัดการความขัดแย้ง ความสำคัญของการค้นหาวิธีจัดการความขัดแย้งที่ดีกว่า รวมถึงพื้นฐานค่านิยมและคุณสมบัติที่สำคัญของนักจัดการความขัดแย้ง คำสำคัญ: ความขัดแย้ง พลวัตความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งDownloads
Published
2011-09-28
Issue
Section
บทความวิชาการ