รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมดุลระหว่างงานและชีวิตที่ส่งผลต่อ
Abstract
The purpose of this study was to develop a causal model of work-life balance affecting the employees’ effective work behavior of the automotive parts manufacturers in the Eastern Thailand. Mixed methods research was employed. For quantitative method, data were collected from 676 employees of 50 automotive part manufactures by questionnaire. SPSS for windows was used for rudimentary data analysis. LISREL was used for analyzing the goodness of fit of model. In terms of qualitative method, data were collected from employees by open-ended questions and from mangers, employees and employees’ family members by in-depth interview and focus group. The content analysis was used to analyze the data.The results revealed that: (1) the proposed model was modified to fit the data and chi-square value and goodness of fit indices of model was acceptable: c² =49.07, df= 37, p-value = .09, GFI = .99, AGFI = .97, SRMR = .02, RMSEA= .02, and CN = 824.92, (2) self-management, family support, and organizational support did not have direct effect on effective work behavior, but they had indirect effect on effective work behavior through work-life balance, and (3) self-management and organizational support had indirect effect on effective work behavior through problem focused coping.The qualitative result corresponded with the quantitative one. The additional qualitative results revealed that: (1) personality, upbringing, socialization, and organizational culture had effect on work-life balance, and (2) intrinsic motivation, work expertise, organizational culture, cooperation, co-worker relationships, communication, and physical and mental health had effect on effective work behavior. Keywords: work-life balance, effective work behavior, problem focused copping, self-management, social supportบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมดุลระหว่างงานและชีวิตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เขตภาคตะวันออกของประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบวิธีผสม วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 676 คน จากโรงงานทั้งหมด 50 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และวิเคราะห์ความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม LISREL วิธีเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานโดยใช้คำถามปลายเปิด วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร พนักงาน และสมาชิกครอบครัวของพนักงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมดุลระหว่างงานและชีวิตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลังจากการปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติ c2=49.07, df=37, p-value = .09, GFI = .99, AGFI = .97, SRMR = .02, RMSEA =.02, CN = 824.92 (2) การบริหารจัดการตนเอง การสนับสนุนจากครอบครัว และการสนับสนุนจากองค์การไม่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ แต่ส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพผ่านสมดุลระหว่างงานและชีวิต (3) การบริหารจัดการตนเองและการสนับสนุนจากองค์การส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพผ่านการจัดการปัญหาแบบมุ่งปัญหา สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบผลที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ และยังพบผลเพิ่มเติมว่า (1) บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู การถ่ายทอดทางสังคม รวมถึงวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อสมดุลระหว่างงานและชีวิต (2) แรงจูงใจภายในตน ความเชี่ยวชาญในงาน วัฒนธรรมองค์การ ความร่วมมือร่วมใจในงาน สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: สมดุลระหว่างงานและชีวิต พฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดการปัญหาแบบมุ่งปัญหา การบริหารจัดการตนเอง การสนับสนุนทาง บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมดุลระหว่างงานและชีวิตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เขตภาคตะวันออกของประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบวิธีผสม วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 676 คน จากโรงงานทั้งหมด 50 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และวิเคราะห์ความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม LISREL วิธีเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานโดยใช้คำถามปลายเปิด วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร พนักงาน และสมาชิกครอบครัวของพนักงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมดุลระหว่างงานและชีวิตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลังจากการปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติ c2 =49.07, df=37, p-value = .09, GFI = .99, AGFI = .97, SRMR = .02, RMSEA =.02, CN = 824.92 (2) การบริหารจัดการตนเอง การสนับสนุนจากครอบครัว และการสนับสนุนจากองค์การไม่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ แต่ส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพผ่านสมดุลระหว่างงานและชีวิต (3) การบริหารจัดการตนเองและการสนับสนุนจากองค์การส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพผ่านการจัดการปัญหาแบบมุ่งปัญหา สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบผลที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ และยังพบผลเพิ่มเติมว่า (1) บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู การถ่ายทอดทางสังคม รวมถึงวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อสมดุลระหว่างงานและชีวิต (2) แรงจูงใจภายในตน ความเชี่ยวชาญในงาน วัฒนธรรมองค์การ ความร่วมมือร่วมใจในงาน สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: สมดุลระหว่างงานและชีวิต พฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดการปัญหาแบบมุ่งปัญหา การบริหารจัดการตนเอง การสนับสนุนทางสังคมDownloads
Published
2011-09-27
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์