The Effects of Development of Intrinsic Motivation Learning and Self-Directed Learning Ability on Self-Directed Learning Behavior of Chandrakasem Rajabhat University Students*
Abstract
This research aims to construct training program on intrinsic motivation learning and self-directed learning ability development, to compare the effects of the development of intrinsic motivation learning and self-directed learning ability on self-directed learning behavior between the experimental group and control group and to compare among the students who had different accessibility to the university learning resources. This research was designed using generalized randomized block design. The samples consisted of 86 the third and the fouth year undergraduate students of Chandrakasem Rajabhat University who were assigned into four groups in 3 experimental group and one control group. The data were analyzed by utilizing MANOVA and Two-Way ANOVA. Research results were as follows: 1) The students participated in training program of intrinsic motivation learning and self-directed learning ability had higher self-directed learning readiness than the control group with post-tested immediately conducted. 2) The students participated in training program of intrinsic motivation learning and self-directed learning ability had higher self-directed learning behavior than the control group with post-tested after three weeks. 3) The students participated in training program of intrinsic motivation learning and self-directed learning ability who had different accessibility level of university learning resources showed no dofference in self-directed learning behavior. Keywords: self-directed learning behavior, directed learning readiness, learning intrinsic motivation, self-directed learning ability, accessibility of university learning resourcesบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมพัฒนาแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาแรงจูงใจภายในการเรียนรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และระหว่างนักศึกษาที่มีการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาภาคปกติปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ชั้นปี 3 และ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม จำนวน 86 คน กลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็น generalized randomized block design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) และการวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง แรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในการวัดทันทีหลังการทดลอง 2) นักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง แรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในการวัดหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ และ 3) นักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองที่มีการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง แรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ ด้วยการนำตนเอง การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยDownloads
Published
2011-09-27
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์